การศึกษาคำปรากฏร่วมประเภทกริยาเบาที่ปรากฏในหนังสือนวนิยาย เรื่องแม่มดแคสเตอร์

ผู้แต่ง

  • ปณชัย อนุสรณ์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ทิศากร ไชยมงคล สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

คำปรากฏร่วม , กริยาเบา , นวนิยาย

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปรากฏร่วมประเภทกริยาเบาของคำว่า have take make give go และ do ในหนังสือนวนิยายเรื่องแม่มดแคสเตอร์ (Beautiful Creatures) จากคำทั้งหมดจำนวน 523,956 คำ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ Oxford Collocation Dictionary for Students of English (2009) และ AntConc เวอร์ชั่น 4.1.1 โดยใช้ทฤษฎีของเบนสัน (Benson et al., 1997)  ในโครงสร้าง Verb + Noun ในการวิเคราะห์คำปรากฏร่วม (collocation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลสถิติพรรณนาร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า มีการใช้คำปรากฏร่วมทั้งสิ้นจำนวน 548 คำ คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของจํานวนคำทั้งหมด 523,956 คำ และเมื่อวิเคราะห์ความหมายแล้วพบว่าเป็นกริยาเบา (delexical verbs) จำนวน 165 คำ โดยพบมากที่สุดคือคำว่า have จำนวน 56 คำ คิดเป็นร้อยละ 33.93 ตามด้วย คำว่า make จำนวน 55 คำ คิดเป็นร้อยละ 33.33 คำว่า take จำนวน 52 คำ คิดเป็นร้อยละ 31.51 และคำว่า do จำนวน 2 คำ คิดเป็นร้อยละ 1.21 อย่างไรก็ตามไม่พบการใช้คำว่า give และ g

References

ณัฐมล ไชยปัญญา, สุดารัตน์ สุดไชยเรศ และสุพัตรา พรมดำ. (2566). การใช้กลยุทธ์ในการฟังภาษาอังกฤษผ่าน TED แอปพลิเคชันและความคิดเห็นที่มีต่อ TED แอปพลิเคชัน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วารสารอักษราพิบูล, (4)1, 107-120.

นงสมร พงษ์พานิช. (2554). การศึกษาปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารด้วยวาจา ของนิสิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. ารสารมนุษยศาสตร์, (18)1, 85-97.

วงศ์ วรรธนพิเชษฐ์. (2556). Collocation: ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน. สืบค้นจาก www.dicthai.com

สุปรานี พุ้ยมอม, เจนจิรา เกิดทอง และชนิศา นิ่มสะอาด. (2555). การสํารวจการใช้คําปรากฏร่วม (Collocation) ในงานเขียนของนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี (รายงานผลการวิจัย). สุพรรณบุรี: คณะศิลปศาสตร์ ศูนย์สุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. สืบค้นจาก https://research.rmutsb.ac.th

สุพิชญา จันทราช. (2561). กลวิธีการแต่งนวนิยายแฟนตาซีกรณีศึกษากัลยาณีสุขษาสุณี. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์บัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต).

หฤทัย ปานเปรม. (2558). การวิเคราะห์กริยาเบาจากตำราเรียนภาษาอังกฤษเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 9(1), 184-194.

Al-Shemmery, M. M., & Ali, S. S. (2015). The Delexical Verbs Realized by Iraqi EFL University Students. Journal of University of Babylon, 23(1), 39-47.

Benson, M., Benson, E., & Ilson, R. (1997). The BBI Dictionary of English Word Combinations (rev. ed.). Amsterdam: John Benjamins.

Ma, J. H., & Kim, Y. (2013). Korean High School English Learners ' Knowledge of Collocations:Focusing on Delexical Verbs: make, get, and take. Language Research Academic Journal, 49(1), 45-71.

McIntosh, C., Francis, B., & Poole, R. (Ed.). (2009). Oxford Collocation Dictionary for Students of English (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

Sinclair, J. (Ed.) (1991). Corpus, Concordance, Collocation. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04