การศึกษาประเพณีลอยเรือสำเภาในแม่น้ำน่านและตัวอักษรจีนในศาลเจ้าแม่ทับทิมของชุมชนชาวจีนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • สิริพรรษา พัวตะนะ Chinese Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Pibulsongkram Rajabhat University
  • กัญสุชญา ทัศนา Chinese Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Pibulsongkram Rajabhat University
  • ภัณฑิรา ตามใจเพียร Chinese Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Pibulsongkram Rajabhat University
  • วศิน สุขสมบูรณ์วงศ์ Business Chinese, Faculty of Humanities and Social Sciences, Pibulsongkram Rajabhat University

คำสำคัญ:

ชาวจีนไทยเชื้อสายจีน, ประเพณีลอยเรือสำเภา, เจ้าแม่ทับทิม, ศาลเจ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาประเพณีลอยเรือสำเภาในแม่น้ำน่านและตัวอักษรจีนในศาลเจ้าแม่ทับทิมของชุมชนชาวจีนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีลอยเรือสำเภาในแม่น้ำน่านของชุมชนชาวจีนบ้านวังส้มซ่าและศึกษาตัวอักษรจีนที่ปรากฏในศาลเจ้าแม่ทับทิมบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจัดพิธีกรรมโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ศาลเจ้าแม่ทับทิม รายละเอียดในพิธีกรรม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนชาวจีนไหหลำ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน

ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีลอยเรือสำเภาในแม่น้ำน่านของชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมามากกว่า 190 ปี เริ่มต้นจากบรรพบุรุษชาวจีนไหหลำได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ดังกล่าว จึงมีการสร้างศาลเจ้าแม่ทับทิม เพื่อเป็นแหล่งรวมใจของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวบ้านบางส่วนมีการมาบนบานศาลกล่าวหรืออธิษฐานขอพรกับเจ้าแม่ทับทิม ในอดีตสถานที่แห่งนี้ยังใช้เป็นศูนย์รวมให้ชาวจีนและชาวไทยได้มาพูดคุยเจรจาค้าขายกันอีกด้วย สำหรั[สถาปัตยกรรมของศาลเจ้า ยังมีภาพวาดแบบจีน ตัวอักษรจีน ป้ายคำมงคล และป้ายชื่อเฉพาะที่เป็นตัวอักษรจีนตัวเต็ม แบ่งเป็นคำศัพท์หมวดพระนามเทพเจ้า จำนวน 12 คำ และคำศัพท์หมวดคำมงคลหรือคำสรรเสริญพระคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 19 คำ ถึงแม้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่ทราบความหมายของตัวอักษรจีนที่แน่ชัด แต่ยังคงให้ความเคารพและศรัทธา เนื่องจากตัวอักษรจีนเหล่านี้ปรากฏอยู่ในศาลเจ้า จึงเป็นแหล่งรวมความเชื่อทางจิตใจผ่านการสืบทอดความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมจากคนรุ่นก่อน ดังนั้นประเพณีลอยเรือสำเภาในแม่น้ำน่านและสถาปัตยกรรมจีนที่ปรากฏเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่ใช้ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมจีนจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน

References

เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์. (2545). ความเป็นจีนตามนิยามของผู้มีเชื้อสายจีน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

จักรกฤษณ์ เกษกาญจนานุช และจตุวิทย์ แก้วสุวรรณ. (2563, กรกฎาคม). กระบวนการกลายของขนมแบบฉบับแต้จิ๋วประจำเทศกาลจีนในสังคมไทย. วารสารอารยธรรม โขง-สาละวิน, 11(2), 100-132.

ชนาภา เมธีเกรียงไกร. (2559). กระบวนการสืบทอดประเพณีทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีน ชุมชนตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาภาษาไทยศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ถาวร สิกขโกศล. (2562). กำเนิด “เจ้าแม่ทับทิม (หม่าโจ้ว)” แม่ย่านางจีนสู่ไทย เทวดานี้ฮิตแพร่หลายได้อย่างไร. สืบค้นจาก https://www.silpa-ag.com/culture/article_41855

ธวัชชัย เทพพิทักษ์. (2564). ‘เหมาไถ’ สุราสานสัมพันธ์ จิตวิญญาณแห่งชาวจีน. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/960951

พงษ์ทัช จิตวิบูลย์. (2559). ประเพณีเช็งเม้ง: คุณค่าต่อสังคมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเมืองหาดใหญ่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

พรปวีณ์ ทองด้วง. (2555). ลอยเรือสำเภาบ้านวังส้มซ่า. สืบค้นจาก https://www.phitsanulokhotnews.com/2012/05/07/15982

ภารดี มหาขันธุ์. (2553, พฤษภาคม). ความเชื่อเรื่องปีชงของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(48), 129-150.

มาโนช ประสานสมบัติ. (2565, 13 พฤษภาคม). ประเพณีลอยเรือสำเภาในแม่น้ำน่านของชุมชนชาวจีนบ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ผู้สัมภาษณ์: สิริพรรษา พัวตะนะ, กัญสุชญา ทัศนา, ภัณฑิรา ตามใจเพียร และวศิน สุขสมบูรณ์วงศ์. บ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.

ยุพิน คล้ายมนต์. (2536). อิทธิพลวัฒนธรรมจีนที่มีต่อสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาดา ทองธรรมสิริ และธนากร ทองธรรมสิริ. (2563, กรกฎาคม). ประเพณีทิ้งกระจาด : ความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 16(2), 109-127.

ศิริพร เรือนสุวรรณ, และนิธิอร พรอำไพสกุล. (2565, กรกฎาคม). การศึกษาความหมายเชิงวัฒนธรรมจากอาหารในเทศกาลตรุษจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน. วารสารพิกุล, 20(1), 365-380.

สุวดี มีมาก. (2565, 13 พฤษภาคม). การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรจากประเทศจีนมายัง หมู่บ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ผู้สัมภาษณ์: สิริพรรษา พัวตะนะ,

กัญสุชญา ทัศนา, ภัณฑิรา ตามใจเพียร และวศิน สุขสมบูรณ์วงศ์. บ้านวังส้มซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.

AmarinTV. (2564). เปิดความหมาย “อาหารมงคลเทศกาลตรุษจีน” มีความหมายมากกว่าการเป็นวันขึ้นปีใหม่. สืบค้นจาก https://today.line.me/th/v2/article/EWomeY

KomChadLuekOnline. (2564). เปิดความหมาย ขนมมงคล ไหว้ "ตรุษจีน". สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/457607/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-15