กลวิธีการใช้ภาษาในบทเพลงลูกทุ่งที่ขับร้องโดยศิลปินไม้เมือง
คำสำคัญ:
กลวิธีการใช้ภาษา , บทเพลงลูกทุ่ง , ไม้เมืองบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “กลวิธีการใช้ภาษาในบทเพลงลูกทุ่งที่ขับร้องโดยศิลปินไม้เมือง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาในบทเพลงลูกทุ่งที่ขับร้องโดยศิลปินไม้เมืองโดยใช้ บทเพลง 6 อัลบั้ม จำนวน 45 บทเพลง เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของชนิดา พันธุ์โสภณ
ผลการศึกษาพบว่าด้านกลวิธีการใช้ภาษาในบทเพลงลูกทุ่งที่ขับร้องโดยศิลปินไม้เมือง มีกลวิธีการใช้ภาษา 4 ลักษณะ คือ 1. การใช้คำ ได้แก่ การเล่นคำ การเล่นเสียงสัมผัสอักษรและ การเล่นเสียงสัมผัสสระ การใช้คำซ้ำ การซ้ำความ 2. การใช้ภาษาถิ่น 3. การใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่ การใช้อุปมา การใช้อุปลักษณ์ การใช้บุคลาธิษฐาน และการใช้อติพจน์ 4. การสื่อความหมาย ได้แก่ การสื่อความหมายโดยตรงและการสื่อความหมายโดยนัย จากการวิเคราะห์พบว่ากลวิธี ทางภาษาที่พบมากที่สุดคือการเล่นเสียงสัมผัสสระ ส่วนกลวิธีทางภาษาที่พบน้อยที่สุดคือการสื่อความหมายโดยนัย ทั้งนี้ยังพบว่าภาษาที่ใช้ในบทเพลงลูกทุ่งที่ขับร้องโดยศิลปินไม้เมืองมีภาษาถิ่นเหนือเข้ามาใช้ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของบทเพลงศิลปินไม้เมือง
References
กัลยาณี ถนอมแก้ว. (2553). การเล่นเสียงสัมผัส. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/ posts/343262
ชนิดา พันธุ์โสภณ. (2555). วาทกรรมความรักในชุมชนกลอนออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ตติยา สายบัวพัตร์. (2555, มกราคม-มิถุนายน). เพลงโฟล์คซองคำเมืองของ สุนทรี เวชานนท์. พิฆเนศวร์สาร, 8(1), 17-24.
นภาลัย สุวรรณธาดา. (2537). ภาพพจน์-ภาษาเพื่อการสื่อสาร. [เอกสารประกอบคำสอน]. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ปุ่น ชมพูพระ, ปภิชญา พรหมกันธา และพัทธนันท์ พาป้อ. (2564). กลวิธีการใช้ภาษาในบทเพลงเพื่อชีวิตของ “พงษ์สิทธิ์ คำภีร์”. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธวิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” (น. 487). ลำพูน: วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรทิพย์ ฉายกี่ และจันทนา แก้ววิเชียร. (2561). วิเคราะห์แนวคิดและศิลปะการใช้ภาษาในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งที่แต่งโดย สลา คุณวุฒิ. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์, 20(1), 87 - 96.
พีรพงษ์ เคนทรภักดิ์ และโสภี อุ่นทะยา. (2564). กลวิธีทางภาษาในบทเพลงลูกทุ่งอีสานร่วมสมัย. วารสารศิลปะการจัดการ, 5(2), 441-457.
วราภรณ์ บำรุงกุล. (2537). ร้อยกรอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
ศิวิไล ชูวิจิตร. (2549). การวิเคราะห์การใช้ภาษาในเพลงไทยสากลของบริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น 1992 จำกัด ช่วงปี พ.ศ. 2542-2546. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย