การสำรวจโครงสร้างสำนวนจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ผู้แต่ง

  • ปานดวงใจ บุญจนาวิโรจน์ สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

สำนวนจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน , สำนวนที่ใช้บ่อย , โครงสร้างวลี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจปริมาณโครงสร้างสำนวนจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ปรากฏในแบบเรียน A Course in Chinese Colloquial Idioms และ เอกสารคู่มือ HSK Spoken Idioms จำนวน 258 สำนวน ใช้วิธีคัดเลือกข้อมูลโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้รูปแบบการแบ่งโครงสร้างวลีของสำนวนจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำแนกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างแบบบทกริยา-บทกรรม โครงสร้างแบบต่างระดับ โครงสร้างแบบประธาน - กริยา โครงสร้างแบบส่วนเสริม  โครงสร้างแบบคู่ขนาน  โดยอ้างอิงรูปแบบการแบ่งโครงสร้างวลี ตามหลักไวยากรณ์ภาษาจีน (Li, 2012) ในการวิจัยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้พจนานุกรมสำนวนจีน ในการแบ่งแยกชนิดของคำ จากนั้นรวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์ประมวลผลโดยใช้สูตรคำนวณหาค่าร้อยละ

จากการศึกษาสำนวนจีนที่ปรากฏในแบบเรียนและเอกสาร พบสำนวนจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันจำนวนทั้งหมด 258 สำนวน ผลการวิจัยนี้พบว่า โครงสร้างแบบบทกริยา - บทกรรมมี 107 สำนวน โครงสร้างแบบต่างระดับมี 59 สำนวน โครงสร้างแบบประธาน - กริยามี 18 สำนวน โครงสร้างแบบส่วนเสริม มีจำนวน 22 สำนวน และโครงสร้างแบบคู่ขนานมี 43 สำนวน นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างแบบรูปประโยคอีก 9 สำนวน ซึ่งแสดงถึงสำนวนประเภทนี้มีรูปแบบโครงสร้างแบบบทกริยา-บทกรรมจำนวนมากที่สุด เป็นร้อยละ 41.47 จากจำนวนทั้งหมด

References

จรัลวิไล จรูญโรจน์. (2560). เทคนิคการวิจัยทางภาษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชาดา บุนนาค. (2561). ภาษาคือประตูสู่โลกกว้าง: “惯用语” สำนวนวลีติดปาก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 11(11), 40-58.

เชิดชัย ผาสุพงษ์. (2545). พจนานุกรมสำนวนจีน-ไทย. กรุงเทพฯ: พู่กันจีน.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2562). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 37). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

นพดล นันทสุขเกษม. (2557). พิชิตข้อสอบภาษาจีน 3 ฉบับสำนวนจีน. สมุทรปราการ: ปสันน์บุ๊ค.

วนิดา ตั้งเทียนชัย. (2552). สำนวนจีน: โครงสร้างทางภาษาและเจตนาการใช้ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Guo, X. l. (2017). HSK Spoken Idioms (3rd ed). China: Beijing Language and Culture University Press.

Li, D. J. (2012). A Practical Chinese Grammar for Foreigners. China: Beijing Language and Culture University Press.

Li, L. (2011, December). Talking About Idioms Usage in Tour Guide Language. Tourism Review, 1(1), 151–152.

Liu, L. M. (2014). Jump High A Systematic Chinese Course Idiomatic Expressions. China: Beijing Language and Culture University Press.

Shen, J. H. (2014). A Course in Chinese Colloquial Idioms (16th ed). China: Beijing Language and Culture University Press.

Su, X. L. (2007). A Handbook of Chinese Locution. China: Peking University Press.

Wang, D. (2017). Idiomatic Phrases in Daily Life 1-2. China: Beijing Language and Culture University Press.

Wang, J. (2006, April). The Role of Literal Meaning in Idiomatic Understanding. Modern Chinese Review, 43(4), 50–51.

Wen, D. Z. (2007). Dictionary of Chinese Idiomatic Expressions. China: The Commercial.

Zeng, D. J. (2011). The Chinese-English Explanation Dictionary of Guanyongyu. China: Shanghai University Press.

Zhang, X. Y. (2015). Guanyongyu Xiao Cidian. China: The Commercial.

Zhao, J. (2018). Idioms of Hanyu Guanyongyu Jiaocheng and Application to Teaching Chinese as a Foreign Language. (Master’s thesis, Liberal Arts, Chongqing Normal University).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-21