กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์เพื่อพัฒนาทักษะการจำเรื่องคำอุปสรรคและคำปัจจัย ผ่านวีดิทัศน์ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • นันท์นภัส พิชยะศุภนันท์
  • สุกฤตา สิทธิวรากร
  • หทัยรัตน์ นิระชน
  • ปทุมพร บุญชุม สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ , คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, ทักษะการจำ, คำอุปสรรคและคำปัจจัย

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการจําคําอุปสรรค (prefix) เเละคําปัจจัย (suffix) ก่อนเเละหลังการเรียนรู้ผ่านวีดิทัศน์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้เรียนรู้กลวิธีการจําคําศัพท์ผ่านวีดิทัศน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้เเก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเกี่ยวกับคำอุปสรรคและคำปัจจัย สื่อวีดิทัศน์ และเเบบสอบถามความพึงพอใจต่อกลวิธีการจำคำศัพท์ผ่านวิดีทัศน์เกี่ยวกับคำอุปสรรคและคำปัจจัย สำหรับสถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (T-test) สำหรับการทดสอบสมมติฐาน จากผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการจำคำอุปสรรคเเละคำปัจจัยหลังการเรียนรู้โดยใช้วีดิทัศน์สูงกว่าก่อนการเรียนโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.63 ซึ่งผลวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการจำของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ผลความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้เรียนรู้กลวิธีการจำคำอุปสรรคและคำปัจจัยผ่านวิดีทัศน์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้ผลความพึงพอใจของผู้เรียนแสดงให้เห็นว่ากลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ประเภทคำอุปสรรคและคำปัจจัยโดยผ่านการเรียนรู้ด้วยวิดีทัศน์สามารถช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าเเละพัสดุภัณฑ์.

กรรณิการ์ รัตนประเสริฐศรี. (2553). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped Classroom เรื่องการตรวจร่างกาย รายวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฉวีลักษณ์ บุญยะกาญจน. (2557). นวัตกรรมการศึกษาชุด จิตวิทยาการอ่าน (Phycology of Reading). กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

ดวงเดือน จังพานิช. (2542). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบสัมพันธ์ขอบข่ายความหมายและวิธีการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ดวงเดือน แสงชัย. (2539). การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม).

เทียมยศ ปะสาวะโน. (2553). การพัฒนาศูนย์ศึกษาบันเทิงเพื่อเสริมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุบผา อยู่ทรัพย์. (2555, พฤษภาคม). การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. วารสารวิจัย มสด, 8(2), 189-204.

ประกิจ ณ สมบูรณ์. (2553). การใช้ Social Network เพื่อการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปีการศึกษา 2/2553 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงเรียนเซนต์จอนห์น.

สุณิสา อินทะชัย. (2559). การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา

ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้วิดีโอช่วยสอน (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อรพรรณ วีระวงศ์. (2554). งานวิจัย มศว ระบุเด็กไทยเรียนอังกฤษเพื่อสอบมากกว่านำมาใช้ในชีวิตประจำวัน. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/ campus/viewnews.a spx?newsID=9540000155943

อารีรักษ์ มีเเจ้ง และสิริพร ปาณาวงษ์. (2553, พฤษภาคม). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 17-31.

Anggraini, Y., Yasin, A. & Radjab, D. (2014, Juli). Improving Students’ Writing Skill of Narrative Text through Video at Grade XII IPA 2 of SMAN 2 Bukittinggi. Journal English Language Teaching, 2(2), 78-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23