การศึกษาคำกริยาพ้องความหมายภาษาจีน
คำสำคัญ:
ภาษาจีน, คำกริยาพ้องความหมาย , ความหมายบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมคำกริยาพ้องความหมายที่ใช้บ่อยในภาษาจีน วิเคราะห์ความหมายและรูปแบบการใช้คำกริยาพ้องความหมายภาษาจีน โดยสำรวจและรวบรวมคำกริยาพ้องความหมายภาษาจีนจากหนังสือคำพ้องความหมายในภาษาจีนกลาง《汉语常用同义词》และเลือกวิเคราะห์ความหมายและรูปแบบการใช้คำกริยาพ้องความหมายที่ปรากฎในหนังสือแบบเรียน《博雅汉语 》(Boya Chinese) จำนวน 4 เล่ม จากรูปประโยคที่ปรากฏในหนังสือแบบเรียนและหนังสือคำพ้องความหมายในภาษาจีนกลาง ผลการศึกษาพบว่า 1) คำกริยาพ้องความหมายภาษาจีนในหนังสือคำพ้องความหมายในภาษาจีนกลาง มีจำนวน 157 คู่ ในจำนวน 157 คู่นี้ มีคำพ้องความหมายหมายภาษาจีนที่ปรากฎในหนังสือแบบเรียน《博雅汉语 》(Boya Chinese) ทั้ง 4 เล่ม จำนวน 62 คู่ 2) ความหมายพื้นฐานของคำกริยาพ้องความหมายภาษาจีนส่วนใหญ่คล้ายหรือเหมือนกัน แต่มีขอบเขตในการใช้และระดับในการเน้นความหมายที่แตกต่างกัน รูปแบบในการใช้สื่อความหมายจึงมีความแตกต่างกัน
References
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2560). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น(1997).
นพพิชญ์ ประหวั่น. (2562). คำพ้องความหมายในภาษาจีนกลาง. กรุงเทพฯ: เพชรประกาย.
เบญญาทิพย์ ศุภะกะลิน. (2561, มกราคม). ข้อผิดพลาดการใช้คำกริยาวิเศษณ์พ้องความหมายในภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(1), 92-116.
สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2562). ระบบคำภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพิชญา ชัยโชติรานันท์. (2558, มกราคม). การศึกษาข้อผิดพลาดการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ ในมิติด้านไวยากรณ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 116-126.
邢福义,汪国胜. (2015). 《现代汉语》(第二版). 武汉:华中师范大学出版社.
谢文庆. (1982). 《同义词》. 武汉: 湖北人民出版社.
张会娟. (2012). 动词同义辨析研究,硕士学位论文. 山东:鲁东大学.
张志毅,张庆云. (2003). 《新华同义词词典》(中型本). 北京: 商务印书馆.
李晓琪. (2013). 《博雅汉语•初级起步篇I.》. 北京:北京大学印书馆.
______. (2013). 《博雅汉语•初级起步篇II.》. 北京:北京大学印书馆.
______. (2013). 《博雅汉语•准中级加速篇I.》. 北京:北京大学印书馆.
______. (2013). 《博雅汉语•准中级加速篇II.》. 北京:北京大学印书馆.
李雅楠. (2013). HSK同义副词辨析,硕士学位论文. 山西:山西大学.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย