การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้เชิงรุกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิด การเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ขั้นที่ 2 การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) และขั้นที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสักงามประชาสรรค์ (เกษตรศาสตร์อนุสรณ์ 37) จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังทดลอง (one group pretest-posttest design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test dependent)ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิด การเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบ SEAACE Model 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นสร้างสิ่งจูงใจ (stimulus) 2) ขั้นสร้างประสบการณ์ (experience) 3) ขั้นดำเนินกิจกรรม (activity) 4) ขั้นประยุกต์ใช้ (apply) 5) ขั้นสรุปผล (conclude) และ 6) ขั้นประเมินผล (evaluate) ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีผลการประเมินระดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) หลังการพัฒนามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) พบว่าผลการประเมินด้านความถูกต้อง เหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรัญญา ขันกฤษณ์. (2559). พัฒนารูปแบบการสอนโครงงานบูรณาการ Active Learning วิชาหน้าที่พลเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=163978&bcat_id=16
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ณัฐวดี ธาตุดี. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2318
ดรุณี ยิ้มแก้ว. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้านความคิดแบบเชิงรุกโดยใช้ DRUNEE MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/ board_view.php?b_id=179299&bcat_id=16
ธีระ กุลสวัสดิ์. (2558). การหาคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
นิภาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเชิงรุกด้วยบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ในการแก้ปัญหา รายวิชาสังคมศึกษา ส33101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/ board_view.php?b_id=175813&bcat_id=16
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพมหานครฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิเชศ รุ่งสว่าง และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/ index.php?/Search/SearchDetail/284051
เพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูสังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร).
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานครฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลีลาวดี ชนะมาร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. (ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Baldwin, J., & Williams, H. (1988). Active Learning : a Trainer’s Guide. England : Blackwell Education.
Joyce, B., & Weil, M. (2004). Models of Teaching. (6th ed.) Boston: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย