รูปแบบการเขียนชื่อพืชวัตถุในตำรายา วัดไพรสุวรรณ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.0264

ผู้แต่ง

  • ณัฐมล พรมรอด
  • นิตยา ทองย้อย
  • ภัชรีย์ญา อ่วมอิ่มพืช
  • ธนศักดิ์ จันทร์สดใส
  • ภัครพล แสงเงิน

คำสำคัญ:

รูปแบบการเขียน, พืชวัตถุ, ตำรายาวัดไพรสุวรรณ, พิษณุโลก

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง รูปแบบการเขียนชื่อพืชวัตถุในตำรายาวัดไพรสุวรรณ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  เลขที่ พส.ข.0264  มุ่งศึกษารูปแบบการเขียนชื่อสมุนไพรเฉพาะพืชวัตถุ จากเอกสารต้นฉบับของตํารายาวัดไพรสุวรรณ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ในงานวิจัยพิจารณาคำเทียบกับพจนานุกรมเพื่อสันนิษฐานศัพท์เท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเขียนชื่อพืชวัตถุที่ใช้ในการบันทึกตำรายาวัดไพรสุวรรณนั้นมีความหลากหลาย สามารถจำแนกรูปแบบการเขียนที่พบได้ทั้งสิ้น 50 รูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ รูปแบบที่ 1 เขียนอักษร ห ไว้หน้าคำนั้นเพื่อให้ออกคำนั้นเป็นเสียงจัตวาหรืออักษรนำ พบทั้งสิ้น 60 คำ รูปแบบที่ 2 ใช้เครื่องหมายนิคหิตแต่ออกเสียงเป็นสระอะในปัจจุบัน พบทั้งสิ้น 59 คำ รูปแบบที่ 3 ใช้รูปวรรณยุกต์เอกแทนเสียงสระอะ ในปัจจุบัน พบทั้งสิ้น 56 คำ รูปแบบที่ 4 ใช้รูปวรรณยุกต์โทแทนไม้หันอากาศ พบทั้งสิ้น 38 คำ และรูปแบบที่ 5 ใช้วรรณยุกต์เอกแต่ออกเสียงเป็นสระโอะลดรูป พบทั้งสิ้น 20 คำ

References

กานต์ธีรา จางตระกูล, กุลศรม์ เวชกุล, อาภาภัทร ธนะบุญ และภัครพล แสงเงิน. (2563). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัด ท่านา ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ใน รายงานประกอบการสัมมนาทางวิชาการ “พิพิธวิจัย วิจิตรวิทยา ภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2562 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก (น. 167-179). พิษณุโลก: สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เกศินี แก้วนิล, นิสิต เมฆแจ้ง, เพ็ญพิชชา พรมแตง และภัครพล แสงเงิน. (2563, เมษายน - กันยายน). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดสระไม้แดง ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. จุลสารศิลป์พิบูล สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2(2), 1-15.

ชลิตา สอนจันทร์, ศิริวรรณ เพ็ชรมณี, อัจฉราภรณ์ ใจแก้ว และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดสันติกาวาส อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น. 4020-4034). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ตำรายาวัดไพรสุวรรณ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. สมุดข่อยเลขที่ พส.ข.0264 เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

นันทรัตน์ ยอดกระโหม, สาวิตรี แก้วเกตุ และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดกรับพวงเหนือ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น. 4035-4048). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

บัญชียาหลักแห่งชาติ. (2556). บัญชียาจากสมุนไพร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2556). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

พระคัมภีร์ปฐมจินดา. (2542). ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

พอฤทัย ปัญญาจักร์, มณฑาทิพย์ บุญแก้ว และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายา วัดสะพานหิน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น. 3645-3657). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภัครพล แสงเงิน และกังวล คัชชิมา. (2563, กรกฎาคม - สิงหาคม). แนวทางการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตำรายาโบราณในไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39(4), 64-81.

มณิสร วังคีรี, มนัญชยา วันเย็น, วรรณภาพร โฮกชาวนา และภัครพล แสงเงิน. (2562). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดนครชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัยครั้งที่ 8 วันที่ 24-25 มกราคม 2562 (น. 2134-2142). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์. (2540). อักษรไทยและอักษรขอมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริขวัญ สุทธิสน, ธนากร จิวสุวรรณ, วีรพล จำปาทอง และภัครพล แสงเงิน. (2562). วรรณกรรมเภสัชกรรมวัดสุนทรประดิษฐ์ ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัยครั้งที่ 8 วันที่ 24-25 มกราคม 2562 (น. 2147-2161). พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29