กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในนิทานก้อมพื้นบ้านอีสานช่องยูทูบ THAI TALE
คำสำคัญ:
อารมณ์ขัน, กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน, นิทานก้อมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในนิทานก้อมพื้นบ้านอีสานช่องยูทูบ THAI TALE โดยคัดเลือกวิดีโอที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 1,000,000 ครั้ง ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 62 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่านิทานก้อมอีสานช่องยูทูบ THAI TALE ปรากฏกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันจำนวนทั้งสิ้น 12 กลวิธี แบ่งเป็นกลวิธีด้านเนื้อหา 6 กลวิธี ได้แก่ 1) การหักมุม 2) การล้อเลียน 3) การตีความผิด
4) การสร้างเรื่องสัปดน 5) การกล่าวขัดแย้งกับพฤติกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้น 6) การใช้ตรรกะที่ผิด และกลวิธีด้านภาษา 6 กลวิธี ได้แก่ 1) การใช้คำกำกวม 2) การใช้คำพ้อง 3) การใช้สัญลักษณ์ 4) การกล่าวเกินจริง 5) การแปลสำนวนตามความหมายประจำ 6) การใช้การพรรณนาหรือบรรยายอย่างตรง ๆ
References
กนกศักดิ์ ธานี. (2556). เรื่องเล่าตลกกับการนำเสนอภาพอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในวีดีทัศน์นิทานก้อมสำนวนอีสาน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
กัญญา นาคสิทธิวงษ์. (2531). วิเคราะห์เนื้อหาและกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในบทขำขันจากนิตยสาร ขายหัวเราะฉบับกระเป๋าและต่วย'ตูน ฉบับพ็อกเกตบุค. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก)
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2528). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2555). การแต่งแต้มวัฒนธรรมการเล่านิทานในชุมชนอีสาน. วารสารมนุษย์กับสังคม, 1(1), น. 9-26.
ทัศนีย์ กระต่ายอินทร์. (2521). อารมณ์ขันในวรรณกรรมร้อยแก้วของไทยระหว่าง พ.ศ. 2453-2516. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร)
นิศารัตน์ สุทธิวรณ์. (2543). วิเคราะห์เนื้อหาและกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในบทขำขันเรื่องเพศ จากอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ http://www.sanook.com/joke. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร)
ปรัชญาพร ทองประสิทธิ์. (2555). การศึกษาการใช้ภาษาและกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันไทยในละครตลกสถานการณ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ปรีชา จันทร์เทพ. (2561). นิทานก้อมอีสานคุณค่าและการอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตของคนอีสาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต, สาขาวัฒนธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วรรณวรพงษ์ หงษ์จินดา. (2538). การ์ตูนการเมืองเรื่อง SERIOS หรือขำขัน. ศิลปวัฒนธรรม, 16(9), น. 59-66.
วีณา วุฒิจำนง. (2562). กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในรายการจำอวดหน้าจอ, ภาษาสารวรรณกรรมสาร, น. 103-118.
วีรภัทร บุญมา. (2559). การปรับตัวของนิทานก้อมบนยูทูบ. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ศิริพร ภักดีผาสุข. 2549. อารมณ์ขันในการ์ตูนการเมืองไทย. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 23, น. 86-143.
สุพาณี วรรณาการ. (2556). ภาษาอังกฤษในการ์ตูนหนังสือพิมพ์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย