การศึกษากลวิธีการแปลชื่อเรื่องอานิเมะจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • วิเนศ จันทะวงษ์ศรี สาขาวิชาภาษาญี่ปุน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • นรวัฒน์ ปานบรรจง
  • สุพัฒน์ แจ่มจันทร์
  • ณัฏฐิรา ทับทิม สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

กลวิธีการแปล , ชื่อเรื่อง , อานิเมะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลชื่ออานิเมะจากอานิเมะที่ปรากฏในเว็บไซต์ Anilist จำนวน 50 เรื่อง ใช้วิธีรวบรวมรายชื่ออานิเมะที่เข้าฉายในประเทศไทยช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนพฤศจิกายน 2563 ระยะเวลา 4 เดือน อ้างอิง กลวิธีการแปลชื่อหนังของรุสนี มะแซ และคณะ (2561) ผลการวิจัย พบว่า มีการใช้กลวิธีการแปลแบบตั้งชื่อใหม่มากสุด จำนวน 22 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาคือ การแปลแบบทับศัพท์ จำนวน 10 เรื่อง  คิดเป็นร้อยละ 20  การแปลบางส่วน จำนวน 9 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 18 และการแปลแบบตรงตัว จำนวน 9 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 18 ตามลำดับ สาเหตุที่กลวิธีการแปลแบบตั้งชื่อใหม่มีการใช้มากที่สุด เนื่องจากกลวิธีแบบตั้งชื่อใหม่นั้น ผู้แปลสามารถสร้างสรรค์ชื่ออานิเมะได้อย่างอิสระ  เพื่อให้เข้ากับบริบท ตัวละคร ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น

References

จินดาพร พินพงทรัพย์. (2561). กลวิธีการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาจีน. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(3), 1471-1491.

ชลีกาญจน์ จันทจำรัสรัตน์. (2561). กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์แอ็คชั่นต่างประเทศเป็นภาษาไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(1), 254-264.

ณัฏฐิรา ทับทิม. (2556). การศึกษาวิธีการและประเภทการแปลคำเลียนเสียงธรรมชาติและคำบอกอาการ หรือสภาพจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 30 (1), 41-56.

ณัฏฐิรา ทับทิม. (2564). ความสามารถในการแปลความหมายระดับข้อความของ Google Translate ระบบ Neural Machine Translation จากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 91-113.

มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา. (2548). การแปล : หลักการและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุสนี มะแซ, มูซัยนะห์ สาแม็ง, ซูรียาตี มานี, จิตสุดา ละอองผล และวรเวทย์พิสิษ ยศศิร. (2561). การวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 (น. 111-118). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สมเกียรติ เชวงกิจวณิช. (2549). แปลญี่ปุ่น-ไทยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.

Anilist. (n.d.). Retrieved from https://anilist.co/

別宮貞徳. (1980). 翻訳の初歩. 東京: Japan Times.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23