คำเหมือน (Synonym) ภาษาอังกฤษที่ปรากฏในข่าวสถานการณ์โควิด 19 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และเดอะเนชั่นออนไลน์

ผู้แต่ง

  • นิตยา อ่อนละมูล -
  • เบญจมาภรณ์ บุญขันธ์ -
  • ณัฐกานต์ เส็งชื่น สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

คำเหมือน, พาดหัวข่าว, ข่าวนำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้คำเหมือน (synonym) ภาษาอังกฤษที่ปรากฏในข่าวสถานการณ์โควิด 19 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นออนไลน์ และวิเคราะห์ความถี่ของรูปแบบการใช้คำเหมือน (synonym) ภาษาอังกฤษที่ปรากฏในข่าวสถานการณ์โควิด 19 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พาดหัวข่าว (headline) และข่าวนำ (lead) ภาษาอังกฤษจากข่าวสถานการณ์โควิด 19 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ออนไลน์ จำนวน 321 พาดหัวข่าวและข่าวนำ และของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นออนไลน์ จำนวน 272 พาดหัวข่าวและข่าวนำ ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คำพ้องความหมาย (synonyms) เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกันในบางบริบท โดยการประยุกต์การวิเคราะห์คำเหมือนจากงานวิจัยของนิตา ประทีปชัยกร (2553)  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. คำเหมือนในรูปแบบคำ (word) และ 2. คำเหมือนในรูปแบบวลี (phrase) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการใช้คำเหมือน (synonym) ในพาดหัวข่าว (headline) และข่าวนำ (lead) ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ออนไลน์มีจำนวนคำศัพท์ 508 คำ โดยพบคำเหมือนในรูปแบบคำ (word) มากที่สุด จำนวน 404 คำ คิดเป็นร้อยละ 79.52 และคำเหมือนรูปแบบวลี (phrase) จำนวน 104 วลี คิดเป็นร้อยละ 20.48 จากพาดหัวข่าวและข่าวนำ จำนวน 321 ของพาดหัวข่าวและข่าวนำ และรูปแบบการใช้คำเหมือน (synonym) ในพาดหัวข่าว (headline) และข่าวนำ (lead) ของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นออนไลน์มีจำนวนคำศัพท์ 558 คำ โดยพบคำเหมือนในรูปแบบคำ (word) มากที่สุด จำนวน 525 คำ คิดเป็นร้อยละ 94.09 และคำเหมือนรูปแบบวลี (phrase) จำนวน 33 วลี คิดเป็นร้อยละ 5.91 จากพาดหัวข่าวและข่าวนำ จำนวน 272 ของพาดหัวข่าวและข่าวนำ จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการเขียนพาดหัวข่าวภาษาอังกฤษ การใช้คำเหมือน (synonym) ในรูปแบบของคำ (word) มากที่สุด

References

นิตา ประทีปชัยกูร. (2553). เทคนิคการพาดหัวข่าว. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ)

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปุณณรัตน์ พิงคานนท์. (2548). การสื่อข่าวและการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์ศรี บุญสุวรรณ. (ม.ป.ป.). การสื่อข่าวและการเขียนข่าวเบื้องต้น. [เอกสารประกอบการ สอน]. นครสวรรค์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วราภรณ์ ชวพงษ์. (ม.ป.ป.). เทคนิคการเขียนข่าว ส่งข่าว และเผยแพร่ภาพข่าวสู่สื่อมวลชน. สืบค้นจาก https://general.psu.ac.th/pdf/technicnew.pdf

สิริวรรณ นันทจันทูล. (2543). การเขียนเพื่อการสื่อสาร2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2549). เรียนรู้วิธีการและงานบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

Bankok Post. (2020a, 12 Febuary). British inmate 'showed no sign' of coronavirus before extradition. Retrieved from https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1856044/british-inmate-showed-no-sign-of-coronavirus-before-extradition

________ . (2020b, 12 Febuary). China virus death toll tops 1,100 as new infections fall. Retrieved from https://www.bangkokpost.com/world/1855964/china-virus-death-toll-tops-1-100-as-new-infections-fall

Haward, J. & Etienne, Z. A. (1945). Words, Meaning and Vocabulary: An Introduction to Modern English Lexicology. London: York House.

Nordquist, R. (2020). What Is a Synonym? Definition and Examples. Retrieved from https://www.thoughtco.com/synonym-definition-1692177

SI English Thailand. (2561). ความหมายของ Synonym และ Acronym. สืบค้นจาก http://www.si-englishbkk.com/study-synonym.

The Nation. (2020a, 2 Febbuary). Korea to ban entry from China's Hubei province. Retrieved from https://www.nationthailand.com/international/30381462

________ . (2020b, 1 Febbuary). King sends sympathies to Chinese President Xi over epidemic crisis. Retrieved from https://www.nationthailand.com/in-focus/30381432

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23