การวิเคราะห์เรื่องมหาสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏในหนังสือ บรรลุธรรมไม่ติดรูปแบบ ของ ณัฐพบธรรม ธนันท์เมธากรณ์

ผู้แต่ง

  • สรัญญา โชติรัตน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • พระราชเขมากร (ประยุทธ วงศ์ยศ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ (บุญเสริม ศรีทา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

คำสำคัญ:

มหาสติปัฏฐาน 4, บรรลุธรรมไม่ติดรูปแบบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์บทความวิจัยเพื่อวิเคราะห์เรื่องมหาสติปัฏฐาน 4 ที่ปรากฏในหนังสือบรรลุ ธรรมไม่ติดรูปแบบ ของ ณัฐพบธรรม ธนันท์เมธากรณ์ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ วิเคราะห์เชิงเอกสารจากงานเขียนทางพระพุทธศาสนา กรอบแนวคิดการวิจัยจำแนกเป็น ด้านแนวคิด ด้านหลักการ และด้านวิธีการ ผลการศึกษาข้อค้นพบว่า ด้านแนวคิด พบว่า 1) การบรรลุธรรมเป็นได้ทั้งในรูปแบบและไม่ใช่รูปแบบ 2) การเจริญภาวนารูปแบบ ได้แก่แบบ สมถะภาวนาและแบบวิปัสสนาภาวนา เป็นการสั่งสมอินทรีย์ด้านสมาธิและสติ ด้านหลักการ พบว่า 1) ต้องทำอินทรีย์ให้แก่กล้า การสะสมอินทรีย์ 5 ศรัทธา วิริยะ ปัญญา สมาธิ สติ สะสมอินทรีย์ แก่กล้าย่อมเกิดความเข้าใจคำสอนที่สำคัญของพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้ง 2) ฐานจิตสะสมอินทรีย์หากเคยสะสมมาแนวใด จิตน้อมไปบรรลุธรรมได้ง่าย ฝึกแนวทางที่ถูกจริต เลือกสะสมอินทรีย์ ในวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง 3) สัมมาทิฏฐินำทาง คือ การมีความยึดมั่นถือมั่นในพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้านวิธีการ พบว่า 1) วิธีการเจริญสติปัฏฐาน 4 ทำได้หลายรูปแบบ สิ่งที่ทำให้เกิดการบรรลุธรรม ได้แก่ ฟังธรรม แสดงธรรม สาธยายธรรม ตรึกตรองธรรม การนั่ง สมาธิพิจารณาธรรม 2) การบรรลุธรรมฝึกเจริญภาวนา เลือกวิธีเหมาะสมกับตัวเอง 3) อ่านพระไตรปิฎกเพื่อสะสมความรู้ 4) การรักษาศีลเป็นการสะสมอินทรีย์บุญการรักษาศีล 5) เข็มทิศสู่การบรรลุธรรม ไตรลักษณ์ สรรพสิ่งต้องเปลี่ยนแปลง

References

กานต์สินี จันทร์วิภาดิลก. (2558, กันยายน-ธันวาคม). ระบบการพัฒนาตนในชีวิตประจำวันเพื่อ ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายสูงสุดตามแนวทางพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารพุทธศาสน์ ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 22(2), 71-94.

ณอภัย พวงมะลิ และคณะ. (2561, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(1), 1588-1604.

ณัฐพบธรรม ธนันท์เมธากรณ์. (2556). บรรลุธรรมได้ไม่ติดรูปแบบ.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

บุณชญา วิวิธขจร. (2560, กันยายน-ธันวาคม). การพัฒนาหลักการสอนวิปัสสนาภาวนาของสำนัก ปฏิบัติธรรมต้นแบบตามแนวสติปัฏฐานสูตร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(3), 133-143.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 18. นนทบุรี: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

พระมหาชิต ฐานชิโต และ พระครูพิพิธวรกิจจานุการ. (2561, กรกฎาคม-กันยายน). การปฏิบัติ และการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย. วารสาร สันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6(3), 1201-1211.

พระราชปริยัติกวี. (2560, กรกฎาคม-กันยายน). กรรมฐานในพระพุทธศาสนาบทเรียนจากมหาสติ ปัฏฐานสูตรและค่านิยมในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. 4(2), 1-20.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุ่งทิพย์ เลิศนิทัศน์. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). การเปรียบเทียบรูปแบบและวิถีการปฏิบัติ ภาวนาของพุทธศาสนิกชนในกรุงเทพฯ. วารสารวิจัยสังคม สถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย. 40(2), 133-154.

สรัญญา โชติรัตน์. (2561). การสังเคราะห์วรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน 4. รายงานผลการวิจัย ฉบับสมบูรณ์. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

สรัญญา โชติรัตน์. (2562).การวิเคราะห์เรื่องมหาสติปัฏฐาน 4 จากงานเขียนทางพระพุทธศาสนา เรื่อง“ภาวนา เริ่มต้น ณ กม.๐”. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “พหุวิทยาการแห่ง ภาษา วรรณกรรม และคติชนวิทยา : วิถีไทย วิถีอาเซียน” ครั้งที่ 1. ประจำปี 2562. (น.219-232) วันที่ 20 ธันวาคม 2562. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏลำปาง .

Downloads