การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ มาเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสักงามประชาสรรค์ (เกษตรศาสตร์อนุสรณ์ 37) จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการ เรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน 4 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า E1/E2 ค่าที (t-test) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (E1/E2 เท่ากับ 82.28/83.41)2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.24, S.D.= 0.24)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์กนิษฐา ทองนา, ราตรี นันทสุคนธ์ และนวลอนงค์ บุญฤทธิพงศ์. (2559). การพัฒนาชุด กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ศึกษาศาสตร์, 22(1), 28-36.

กิตติพงษ์ ร่มพฤกษ์. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จังหวัดเพชรบุรี. มนุษยสังคมปริทัศน์, 16(1), 73-84.

จิตราภรณ์ บัวจำรัส. (2558). สัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา. สืบค้นจาก http://www.br.ac.th/elearning/social/jitraporn/Buddhism%20%20M6/Unit1_1.html.

จิรภา วีระพันธ์. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี).

จีราวรรณ ม่วงจันทร์. (2558). ชุดกิจกรรม เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระสังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธีรกานท์ บ้านโฮ่ง. สืบค้นจาก http://www.kroobannok.com/

ณัฐกมล วัชรวงษ์ทวี. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์).

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาภา ทองดี และสุธาทิพย์ งามนิล. (2558). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 5(6), 89-102.

ปัญญาภรณ์ เรืองโรจน์. (2560). รายงานการพัฒนาชุดการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลกระบี่. สืบค้นจาก http://www.google.com/

พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฺฒโน (คําหงษา), สมปอง สุวรรณภูมา และสมชัย ศรีนอก. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(1), 28-40.

มณีรัตน์ วงศ์ศรี. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

วีรวิท คงศักดิ์. (2555). คุณธรรมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว เอ็ดดูเทนเมนท์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2565). กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Downloads