การศึกษาความเชื่อเรื่องการถือกำเนิดของมนุษย์ที่ปรากฏในวรรณกรรม ประกอบพิธีการทำขวัญนาค : บทปฏิสนธิ

ผู้แต่ง

  • วรารก์ เพ็ชรดี สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก (ภาษาเขมร) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วัฒนชัย หมั่นยิ่ง สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, การถือกำหนด, บทปฏิสนธิ, ทำขวัญนาค, วรรณกรรมพิธีกรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องการถือกำเนิดของมนุษย์ที่ปรากฏ ในวรรณกรรมประกอบพิธีการทำขวัญนาคโดยศึกษาเฉพาะบทปฏิสนธิ โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ความเชื่อก่อนการปฏิสนธิและความเชื่อหลังการปฏิสนธิ

ผลการศึกษาพบว่าความเชื่อก่อนการปฏิสนธิพบ 3 ลักษณะ คือ ความเชื่อเรื่อง ลางสังหรณ์ ความเชื่อเรื่องผีพุ่งไต้ และความเชื่อเรื่องความฝัน โดยความเชื่อทั้ง 3 ความเชื่อนี้ เป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนไทยมีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ส่วนของความเชื่อ หลังปฏิสนธิพบว่าความเชื่อดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาจากวรรณคดีเรื่องไตรภูมิกถาเป็นหลัก ความเชื่อที่พบในบทปฏิสนธิเป็นหลักฐานในการสืบต่อความเชื่อเรื่องการถือกำเนิดของมนุษย์ ผ่านการประกอบพิธีกรรมมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในการเกิดเป็นมนุษย์ว่ามีที่มา อย่างไร เมื่อเข้าสู่ครรภ์แล้วมีลักษณะเช่นไร อยู่ในลักษณะใด พัฒนาการส่วนประกอบของร่างกาย ในแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ซึ่งยังคงเป็นวรรณกรรมที่ยังใช้ในการประกอบพิธีกรรมและส่งต่อ ความเชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

References

กรมศิลปากร. (2513). เสภาเรื่อง ขุนช้าง - ขุนแผน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

กรมศิลปากร. (2555). ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

ทิพย์สุดา นัยทรัพย์. (2535). ภาษากับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

เลี่ยงเชียงจงเจริญ. (มปป.). พิธีทำขวัญนาค และแหล่ต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

วิจิตรา รังสิยานนท์ (พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ). (2541). ความฝัน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29