การศึกษาเปรียบเทียบความหมายคำว่า “ฝน” ในสำนวนภาษาไทย ภาษาเวียดนาม และภาษาอินโดนีเซีย
คำสำคัญ:
สำนวน, ฝน, ภาษาเวียดนาม, ภาษาอินโดนีเซียบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบความหมายในสำนวนที่มีคำว่า “ฝน” ในภาษาไทย ภาษาเวียดนามและอินโดนีเซีย และศึกษาภาพสะท้อนทางธรรมชาติและวิถีชีวิตที่ ปรากฏในสำนวนทั้งสามภาษานี้ โดยใช้การวิเคราะห์ความหมายและนำเสนอโดยพรรณนา วิเคราะห์ (descriptive analysis) และเก็บข้อมูลจากพจนานุกรมเกี่ยวกับสำนวนทั้งสามภาษา
ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของคำว่า “ฝน” ทั้งสามภาษามีความหมายเหมือนกัน และในภาษาไทย คำว่า “ฝน” ยังมีความหมายเพิ่มขึ้นมาในกรณีทีต่างหน้าที่ทางไวยากรณ์ ส่วนภาพสะท้อนจากคำว่า “ฝน” ในสำนวนทั้งสามภาษาทางธรรมชาติและวิถีชีวิตนั้น พบว่า ทั้งสามภาษามีภาพสะท้อนในลักษณะร่วมกัน 3 ประการ ได้แก่ ภาพสะท้อนทางธรรมชาติด้าน ภูมิศาสตร์และมนุษย์ ภาพสะท้อนทางวิถีชิวิตในด้านความเป็นอยู่ และในภาษาไทยมีภาพสะท้อน โดดเด่นทางด้านครอบครัว ศาสนาและความเชื่อ ภาษาเวียดนามมีภาพสะท้อนโดดเด่นด้านสัตว์ และด้านค่านิยมเกี่ยวกับความประพฤติ และภาษาอินโดนีเซียมีภาพสะท้อนโดดเด่นด้านการกีฬา
References
บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร. (2546). ปทานุกรมสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส.เสริมมิตรการพิมพ์ จำกัด.
ยิ่งลักษณ์ งามดี. (2545). สุภาษิต คำพังเพย และสำนวนไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วู ถิ กิม จี. (2550). การเปรียบเทียบสำนวนเวียดนามกับสำนวนไทย.วิทยานิพนธ์. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: กรุงเทพฯ.
ศิริพร มฌีชูเกตุ. (2557). โลกทัศน์ของคนอินโดนีเชียจากภาษิต. พิษณุโลก: คาวเงินการพิมพ์
เหงียน จิ ธง (ธง เหวี่ยน). (2544). พจนานุกรมไทย - เวียดนาม. กรุงเทพฯ: กู๊ดวิว เพลส. อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2541). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Pusat Bahasa. (2008). Kamus Besar Bahasa Indonesia. Edisi IV. Jakarta: Gramedia Pustaka Utama.
Nguyễn Lân. (2002). Từ điển thành ngữ và tục ngữ Việt Nam. Ha Noi: Nhà xuất bản
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย