ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค โดยใช้ชุดแบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุดมดรุณี

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา แซ่หว้า สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทรงภพ ขุนมธุรส สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ชนิดและหน้าที่ของคำ, ชุดแบบฝึก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเรื่องชนิดและ หน้าที่ของคำในประโยคให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนเรื่องการสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุดมดรุณี ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนอุดมดรุณี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 44 คน โดยการเลือกแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดแบบฝึกเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค จำนวน 8 แบบฝึกหัด และ 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - test ผลการวิจัยพบว่า ชุดแบบฝึกเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ ในประโยคมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.60/81.16 แสดงให้เห็นว่าชุดแบบฝึกเรื่องชนิดและ หน้าที่ของคำในประโยคมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา จงเจริญ. (2562). แบบสอบถามปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุดมดรุณี ภาคเรียนที่ 2/2561. สุโขทัย: โรงเรียนอุดมดรุณี.

ชุติมา ทองคณารักษ์. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะทางภาษา เรื่องชนิดของคำในภาษาไทยชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองไทร อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562, จาก http://web.itectrang1.com/29085.

ณัฐชา อักษรเดช. (2554). การสร้างแบบฝึกอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. ชุลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญญาพร ทองจันทร์ (2560). ปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). วารสารช่อพะยอม. 28(1), น.125- 132.

เบ็ญจวรรณ จอมศรี (2562). แบบสอบถามปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนอุดมดรุณี ภาคเรียนที่ 2/2561. สุโขทัย: โรงเรียนอุดมดรุณี.

วันดี เสาร์แดน. (2546). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์จากนิทานพื้นบ้าน โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัย นเรศวร.

วันเพ็ญ เทพโสภา. (2555). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: พ.ศ.พัฒนา. วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2552). นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ศุภรณ์ ภูวัด. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุพรทิพย์ ศรีดี. (2559). ผลของการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาความรู้เรื่องคำสมาสที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลักภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุขุมนวพันธ์- อุปถัมภ์. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29