การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างทางเรขาคณิต ด้วยแนวคิดสตีมศึกษาร่วมกับสื่อเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ศศิภา โตสงคราม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างทางเรขาคณิต ด้วยแนวคิดสตีมศึกษาร่วมกับสื่อเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 75/75  2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 2.1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน  2.2) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  2.3) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เพื่อออกแบบชิ้นงานตามแนวคิดสตีมศึกษา  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  4) แบบประเมินความสามารถในการคิดสร้างสรรค์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent การวิเคราะห์เนื้อหา และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.81/76.21 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า 2.1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  2.2) ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในระดับดีมากเฉลี่ยร้อยละ80.88 (gif.latex?\bar{x}=16.75,S.D.=1.92)  2.3) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์เพื่อออกแบบชิ้นงานตามแนวคิดสตีมศึกษาในระดับดีขึ้นไปเฉลี่ยร้อยละ79.59  (gif.latex?\bar{x}=9.59 , S.D.=1.06)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)