การพัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายเรือ
คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพการศึกษา, โรงเรียนนายเรือบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายเรือ (รร.นร.) และ 2) เพื่อพัฒนาระบบ กลไก และแนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของ รร.นร. ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน คัดเลือกด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของ รร.นร. จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกำลังพล : ผู้บริหารระดับสูงยังขาดการนำองค์กรด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจน กำลังพลส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษาค่อนข้างน้อย การย้ายบรรจุกำลังพลบ่อยครั้งส่งผลให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง 2) ด้านวัสดุและอุปกรณ์ : ขาดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่สนับสนุนงานประกันคุณภาพการศึกษา และ 3) ด้านการจัดการ : การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานยังไม่เหมาะสม การกำหนดกรอบคุณภาพยังไม่ชัดเจน การกำหนดแผนงานไม่ชัดเจน และการกำกับติดตามงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ยังไม่มีประสิทธิภาพ 2. ระบบ กลไก และแนวทางในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของ รร.นร. มีเป้าหมาย คือ รร.นร.สามารถดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนการดำเนินงานเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ดังนี้ 2.1) ปัจจัยนำเข้า: เตรียมปัจจัยนำเข้าให้พร้อมสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงาน ได้แก่ ศักยภาพของบุคลกร (จำนวน และความสามารถ) งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ และระบบการจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันที่มีประสิทธิภาพ 2.2) กระบวนการ: ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร วางแผนการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนระบบ กำหนดกรอบคุณภาพ จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ การประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน จำนวน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการตรวจประเมินคุณภาพ ขั้นที่ 2 การตรวจประเมินคุณภาพ ขั้นที่ 3 การส่งรายงานผลการประเมิน และ ขั้นที่ 4 การนำผลการประเมินไปพัฒนาคุณภาพ และขั้นดำรงสภาพและพัฒนาต่อเนื่อง เป็นการดำรงสถานะความพร้อมการดำเนินงาน การทบทวนผลการดำเนินงาน และบูรณาการผลการดำเนินงาน 2.3) ผลผลิต : รายงานการประเมินตนเองและผลการประเมินระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน และ 2.4) ข้อมูลป้อนกลับ : เป็นขั้นการนำผลการประเมินที่ได้มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการปฏิบัติงานในปีการศึกษาถัดไป
References
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2564). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา หน่วยงานประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. ลง 10 มีนาคม พ.ศ.2564.
ปรียา สงค์ประเสริฐ. (2564). รูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขอ'โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารพุทธ สังคมวิทยาปริทรรศน์. 6, (3), 33-47.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ส่วนงานสนับสนุน วิชาการ (AS –EdPEx) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 13 - 18.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก 1 พฤษภาคม 2562: 72 – 73.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 268 ง 14 พฤศจิกายน 2565: 58 – 66.
โรงเรียนนายเรือ, ฝ่ายศึกษา. (2565). รายงานการประเมินตนเองของ ฝศษ.รร.นร. ประจำปีการศึกษา 2564. (อัดสำเนา).
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2556). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา โรงเรียนนายเรือ.
อัญชลี โพทวี และ มนตรี วงษ์สะพาน. (2564). การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 12, (1), 294-304.
Bartlett, H. C., Holman, G. P., Somes, T. E. (n.d.). The Art of Strategy and Force Planning. (n.p.), pp. 17-33.
Matei, L. and Iwinska, J. (2016). Quality Assurance in Higher Education : A Practical Handbook. Central European University Yehuda Elkana Center for Higher Education Budapest. Hungary. pp. 12 – 17.
Mind Tool. (2015). หลักการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/FgEkH
UTILIZATION MANAGEMENT. (n.d.). วิเคราะห์ถึงราก (Root Couse Analysis) ช่วยแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/NiBZ6
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 น.ท. รศ.สันติ งามเสริฐ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล