กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกที่มีผลต่อความสำเร็จของ ผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การส่งออก การส่งออกทางอ้อม การส่งออกทางตรงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาถึงระดับความสำเร็จของกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ถึงความมีอิทธิพลของกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จของประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย จำนวน 196 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่าย จดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด ระยะเวลาประกอบธุรกิจมากกว่า 5 ปี การส่งออกจะส่งไปกลุ่มเอเซีย และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย และเมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยย่อยของกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกแล้ว พบว่า กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกทางอ้อมไม่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย แต่กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกทางตรงส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ดังนั้นผู้ประกอบการโรงสีข้าวควรนำกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศด้วยการส่งออกทางตรง ได้แก่ พนักงานขายเพื่อการส่งออก แต่ละกลุ่มประเทศ ผู้จัดจำหน่ายในต่างประเทศ และการตั้งสาขาการตลาดในต่างประเทศ
References
กมลกานต์ เทพธรานนท์ และรัตติกรณ์ จงวิศาล. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ
แรงจูงใจภายในคุณลักษณะของผู้ประกอบการกับความสำเร็จในการ
ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สืบค้นจาก
http://www.snc.lib.su.ac.th/serindex/dublin.php?ID=13399492953.
กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). รายงานพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105.
สืบค้น 30 ธันวาคม 2564. จาก https://www.ricethailand.go.th/main.php.
กรมอุตสาหกรรม. (2564). โรงสีข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.สืบค้น 30 ธันวาคม
จาก http://diw.go.th/hawk/default.php
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2550). กลยุทธ์ในการเข้าสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ. สืบค้นจาก
http://www.bus.rmutt.ac.th/thai/journal/chanongkorn/c3.html.
ชัยวัฒน์ ใบไม้. (2561).การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานโรงสีข้าวอินทรีย์ขนาดเล็ก จังหวัด
เชียงใหม่. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม –
เมษายน 2561.
บุญชม ศรีสะอาด. (2547). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิเชษ พุ่มเกษร. (2554). ปัญหาในการดำเนินงานของอุตสาหกรรมโรงสีข้าวเพื่อการ
ส่งออกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.].
พงษ์สรรค์ ลีลาหงส์จุฑา และลักคณา วรศิลป์ชัย. (2554). กลยุทธ์ผู้ส่งออกไทยบนความ
ท้าทายของบริบทโลก. วารสารนักบริหาร. 30(4) : 177-180
วจนะ ภูผานี. (2558). กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดระดับโลก. สืบค้นจาก
http://www.slideshare.net/kingkongzaa/5-gm-market-entry.
ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2554). กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของธุรกิจขายตรงใน
ประเทศเวียดนาม. สืบค้นจากhttp://ar.or.th/ImageData/Magazine/29/DL_173.pdf?t=63613
สุนทรชัย ชอบยศ. (2561). โรงสีข้าวชุมชน:แนวคิดและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ
ท้องถิ่นที่ยั่งยืน มหาสารคาม. พิมพ์ครั้งที่ 2 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยส าหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
อัครพงศ์ กรมพลาศักดิ์. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออก
ข้าวไทย. Journal of MCU Nakhondht Vol.6 No.9 (November 2019).
Fry, L. W., & Slocum Jr, J. W. (2008). Maximizing the triple bottom line through
spiritual leadership. Organizational dynamics. 37(1), 86-96.
Fry, eat al. (1998). The development of personal meaning and wisdom in
adolescence: A reexamination of moderating and consolidating
factors and influences. In P. T. P. Wong & P. S. Fry (Eds.), The human
quest for meaning: A handbook of psychological research and
clinical applications (pp. 91–110). Lawrence Erlbaum Associates
Publishers.
Nunnally, J. C. (1978). Test and Measurement. New York: Mcgraw Hill.
Wild JM, Williams MN, Howie GJ, Mooney R (2009) Calcium-binding proteins
define interneurons in HVC of the zebra finch (Taeniopyga guttata).
J Comp Neurol 483:76–90. https://doi.org/10.1002/cne.20403
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ฐนันวริน โฆษิตคณิน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล