ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะของเมืองแห่งการเรียนรู้ ในบริบทกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Sornpravate Krajangkantamatr Mahidol University

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, กรุงเทพมหานคร, เมืองแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติที่มีต่อคุณลักษณะของเมืองแห่งการเรียนรู้ ในบริบทของกรุงเทพมหานคร และ 2) เสนอแนะแนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติที่มีต่อคุณลักษณะของเมืองแห่งการเรียนรู้ในบริบทของกรุงเทพมหานคร ทั้งรายด้านและในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แปลความหมายได้ว่า กลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครเห็นด้วยว่าคุณลักษณะของเมืองแห่งการเรียนรู้ในบริทบของกรุงเทพมหานครสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของกรุงเทพมหานครปานกลาง ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ คือ 1) มีมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว 2) ส่งเสริมการเรียนรู้ในครอบครัวเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว และ 3) อำนวยความสะดวกให้ประชาชนในกรุงเทพมหานครเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย เช่น จัดเตรียมรถโดยสารให้ประชาชน ใช้สื่อการเรียนรู้ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้มากขึ้น เช่น สื่อเชิงโต้ตอบ และติดตั้งอุปกรณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ

References

นิรมล เสรีสกุล และธนพร โอวาทวรวรัญญู. (2565). การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาย่านกะดีจีน-คลองสาน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 20(2), 45-67.

นิรมล เสรีสกุล, อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ และพรรณปพร บุญแปง. (2564). กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565 จาก https://theurbanis.com/insight/09/04/2021/4431

วราภรณ์ นาคคง, ชนิตา รักษ์พลเมือง และอมรวิชช นาครทรรพ. (2560). แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์, 44(3), 194-211.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). แนวทางการจัดศึกษาตลอดชีวิตเพื่อขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(2), 218-239.

Agbedahin, A. V. (2019). Sustainable development, education for sustainable development, and the 2030 agenda for sustainable development: Emergence, efficacy, eminence, and future. Sustainable Development, 27(4), 669-680.

CISCO. (2010). The learning society. San Jose, CA: CISCO Public Information.

Dabyltayeva, N., & Rakhymzhan, G. (2019). The green economy development path: Overview of economic policies priorities. Journal of Security & Sustainability Issues, 8(4), 643-651.

Daggol, G. D. (2017). Lifelong learning: not a 21st century, but an omnitemporal skill. International Journal of Social Humanities Sciences Research (JSHSR), 4(12), 1254-1267.

Gee, E., Siyahhan, S., & Cirell, A. M. (2017) Videogaming as digital media, play, and family routine: implications for understanding video gaming and learning in family contexts. Learning, Media and Technology, 42(4), 468-482.

Keddie, A. (2018). Adult education: An ideology of individualism. In Thompson, J. L. (Editor), Adult education for a change. (pp. 45-64). Routledge.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Spagnola, M., & Fiese, B. H. (2007). Family routines and rituals: A context for development in the lives of young children. Infants & Young Children, 20(4), 284-299.

UNESCO Institute for Lifelong Learning. (2015). UNESCO global network of learning cities: Guiding documents. Hamburg: UNESCO Institute for Lifelong Learning.

________________. (2022). Members of the UNESCO Global Network of Learning Cities. Retrieved November 11, 2022 from https://uil.unesco.org/lifelong-learning/learning-cities/members

World Bank. (2012). Inclusive green growth: The pathway to sustainable development. Washington, DC: The World Bank. https://doi.org/10.1596/978‐0‐8213‐9551‐6

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis (2nd Ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30