The The Challenge of Cross-Cultural Healthcare Communication on Medical Tourism: Case Study of International Private Hospital in Bangkok, Thailand
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อศึกษาอุปสรรคด้านการสื่อสารในการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรมชองล่ามทางการแพทย์ ในการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ที่มีความความสัมพันธ์กันในแต่ละบทบาทได้แก่ การแปลภาษา ความเป็นมืออาชีพ การจัดการ และการชักจูง เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารด้านสุขภาพทางวัฒนธรรมที่พบว่ามีความแตกต่างกันด้านภาษา วัฒนธรรม และความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ
การศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยล่ามทางการแพทย์ที่ทำงานในสถานพยาบาลที่ให้บริการผู้ป่วยต่างชาติและอธิบายประสบการณ์ของล่ามทางการแพทย์ ผู้ป่วยต่างชาติ และและบุคลากรทางการแพทย์ ในแง่ของการสื่อสารด้านการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรมได้แก่ การแปลภาษา ความเป็นมืออาชีพ การจัดการ และการชักจูง
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบพรรณนา ประชากรผู้เข้าร่วมเป็นล่ามทางการแพทย์ ผู้ป่วยต่างชาติและ บุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพฯ ประเทศไทย และศูนย์การแพทย์ กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลถูกรวบรวมและวิเคราะห์โดยใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อวิเคราะห์และตีความความสอดคล้องกันระหว่างสาเหตุและผลที่อธิบายได้ด้วยข้อมูล
ค้นพบว่าอุปสรรคประสบการณ์การดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรมนั้นมีความท้าทายล่ามทางการแพทย์ในลทบาทหน้าที่ในงานที่เกี่ยงข้องและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ซับซ้อน ผลการวิจัยพบข้อค้นพบที่สำคัญกับทีมผู้บริหารโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ขอแนะนำการฝึกอบรมเรื่องสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม สำหรับความก้าวหน้าในอาชีพและส่งเสริมความเป็นมืออาชีพผ่านการออกใบอนุญาตและการพัฒนาความฉลาดทางด้านอารมณ์ ทักษะของผู้ให้บริการที่สำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะในเชิงรุกเพื่อลดสภาวะทางอารมณ์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวชิงสุขภาพ, ล่าม, ผู้แปลภาษา, ข้ามวัฒนธรรม, สุขภาพ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Promsiri Nonglek
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล