ไคโรแพคติก : การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • Tuangthong Nukulkij -
  • นิวัฒน์ พนมสารนรินทร์
  • ประภาวรรณ ตระกูลเกษมสุข
  • ณัฐ นาราวิทย์

คำสำคัญ:

อาการปวดหลังส่วนล่าง, ไคโรแพคติก, การเรียนออนไลน์,, นักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับอาการปวดหลังส่วนล่างของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาทั้งก่อนและหลังการรักษาด้วยไคโรแพคติก 2) เพื่อเปรียบเทียบอาการปวดหลังล่างของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาก่อนและหลังการรักษาด้วยไคโรแพคติก และ 3) เพื่อเสนอผลการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยไคโรแพรคติกและแนวทางการดูแลป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 30 คน ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเนื่องจากการเรียนออนไลน์ในระหว่างปีการศึกษา 2563 และ 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินอาการปวดหลังส่วนล่างทางการแพทย์มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดข้อคำถาม และดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสอบถามอาการจากกลุ่มตัวอย่างประกอบกับการประเมินอาการโดยนักไคโรแพรคติกทั้งก่อนและหลังการรักษาเพื่อเปรียบเทียบอาการปวดหลังส่วนล่างจากการรักษาด้วยไคโรแพรคติก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-Test และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่มีอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ในภาพรวมก่อนการรักษาอยู่ในระดับปานกลางและหลังการรักษาอยู่ในระดับน้อยมาก 2) เมื่อนำค่าระดับอาการปวดหลังส่วนล่างในภาพรวมมาเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) อาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาลดลงหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยไคโรแพรคติกโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดอีกเลย โดยอาการปวดจะบรรเทาได้ไวและหายขาดไปได้นั้นผู้เข้ารับการรักษาจะต้องให้ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันร่วมด้วย และเพื่อป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ ในการนั่งเรียนทุกๆ 1 ชั่วโมง นักเรียนควรมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถและขยับร่างกาย เช่น การลุกเดิน อย่างน้อย 5 นาที รวมถึงเลือกใช้โต๊ะ – เก้าอี้ และอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายอยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสม

References

Ayanniyi O, Mbada CE, Muolokwu CA. Prevalence and profile of back pain in Nigerian adolescents. Med Princ Pract 2011;20:368-373.

Buchbinder R, Underwood M, Hartvigsen J, Maher CG. The lancet series call to action to reduce low value care for low back pain: an update. Pain 2020;161(1):57–64.

Chou R, Qaseem A, Snow V, Casey D, Cross JT Jr, Shekelle P, et al. Diagnosis and treatment of low back pain: a joint clinical practice guideline from the American College of Physicians and the American Pain Society. Ann Intern Med 2007;147:478–491.

Christensen M, Kollasch M, Hyland JK. Practice analysis of chiropractic. Greeley, CO: NBCE; 2010.

Degges-White, S. (2020). Zoom Fatigue: Don’t Let Video Meetings Zap Your Energy. Some ‘cheats’ to help you beat Zoom fatigue before it beats you. Psychology Today. https://www.psychologytoday.com/us/blog/lifetime-connections/202004/zoom-fatigue-dont-letvideo-meetings-zap-your-ener

Diaz-Caballero AJ, Gómez-Palencia IP, Díaz-Cárdenas S. Ergonomic factors that cause the presence of pain muscle in students of dentistry. Med Oral Patol Oral Cir Bucal 2010;15: e906-11. [CrossRef]

Ehrlich GE. Low back pain. Bull World Health Organ 2003;81:671–676.

Erten, P., & Özdemir, O. (2020). The Digital Burnout Scale Development Study. Inonu University Journal of the Faculty of Education, 21(2), 668-683. https://doi.org/10.17679/inuefd.597890

Hartvigsen J, French SD. So, what is chiropractic? Summary and refections on a series of papers in Chiropractic and Manual Therapies. Chiropr Man Ther 2020;28:4.

Hwang J, Philip KL, Frank MP, Howard S, Dino S. Low back pain in children: a rising concern. European Spine Journal 2019;28:211–213.

Korovessis P, Repantis T, Baikousis A. Factors affecting low back pain in adolescents. J Spinal Disord Tech 2010;23:513-520.

Mior S, Wong J, Sutton D, Beliveau PJH, Bussières A, Hogg-Johnson S, et al. Understanding patient profles and characteristics of current chiropractic practice: a cross-sectional Ontario Chiropractic Observation and Analysis Study (O-COAST). BMJ Open. 2019;9:e029851.

Montoro C, Provencher B, Descarreaux M, Mues A, Piché M. Clinical effectiveness and efficacy of chiropractic spinal manipulation for spine pain. Frontiers in pain research 2021;(2);1-14.

Nadler, R. (2020). Understanding “Zoom fatigue”: Theorizing spatial dynamics as third skins in computer-mediated communication. Computers and Composition, 58, 102613. https://doi.org/10.1016/j.compcom.2020.102613

Nyland LJ, Grimmer KA. Is undergraduate physiotherapy study a risk factor for low back pain? A prevalence study of LBP in physiotherapy students. BMC Musculoskelet Disord 2003;4:22:1-12.

Paranjape S, Ingole V. Prevalence of back pain in secondary school students in an urban population: cross-sectional study. Cureus 2018;10:29-83.

Rubin DI. Epidemiology and risk factors for spine pain. Neurol Clin 2007;25:353-71.

Taspınar F, Taspınar B, Cavlak U, Celik E. Determining the pain affecting factors of university students with nonspecific low back pain. J Phys Ther Sci 2013;25:1561-1564.

Trakulkasemsuk P, Phanomsarnnarin N, Yodsai T, Wongsakul S. A causal relationship model of online learning on secondary school students’ low back pain. Journal of MCU Social Science 2021;10(3);26-38. (in thai)

Xie X, Siau K, Nah FF. COVID-19 pandemic – online education in the new normal and the next normal, Journal of Information Technology Case and Application Research 2020;22(3):175-187.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31