ประสบการณ์ความทุกข์ของกลุ่มแรงงานข้ามชาติกับความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • penchan pradubmook sherer -

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความทุกข์และประสบการณ์ความเจ็บป่วยและการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร โดยวิเคราะห์บนฐานคิดของปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพที่เชื่อมโยงกับแนวคิดความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพ ธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต ผู้ให้ข้อมูลเป็นแรงงานข้ามชาติหลากหลายชาติพันธ์ และมีความเจ็บป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและกำหนดเป็นประเด็นข้อค้นพบ

 การศึกษาพบความทุกข์ด้านสุขภาพในหลายมิติ  ได้แก่ ความทุกข์จากความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน ความทุกข์ต่อการถูกคาดหวังให้ป้องกันการแพร่เชื้อในสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่จำกัด ความทุกข์ที่กลัวว่าจะเป็นที่รังเกียจ การถูกตีตราจากสังคมเมื่อเจ็บป่วย ความทุกข์กับรายได้ที่หายไปหรือกลัวถูกเลิกจ้างเมื่อเจ็บป่วย ความทุกข์จากการไม่ได้รับบริการด้านสุขภาพ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ และความทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาในความเจ็บป่วยระยะยาวและการฟื้นฟูสภาพ ผลการศึกษาวิเคราะห์ได้ว่าการเจ็บป่วยและความทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บและการเข้าถึงระบบสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ เกิดจากปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ ซึ่งก็คือ โครงสร้างหรือเงื่อนไขทางสังคมที่ไม่เป็นธรรมที่แบ่งแยก กีดกัน ให้คนกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองและเข้าไม่ถึงทรัพยากรที่จำเป็นในชีวิต

 

References

วาทินี บุญชะลักษี และอภิชาต จำรัสฤทธิรงค์. (2550). เสียงจากแรงงานข้ามชาติต่อบริการสุขภาพและการอยู่ร่วมกับคนไทย. วารสารประชากรและสังคม. 16(1), 21-34.

สมพงค์ สระแก้ว และปฏิมา ตั้งปรัชญากูล. (2552). นายหน้ากับกระบวนการย้ายถิ่นแรงงานข้ามชาติจากพม่า : กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ : กรีนพริ้น.

สีสมยา, มุขมังกร. สภาพปัญหาการบริหารการจัดการแรงงานข้ามชาติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 1, n. 3, p. 54-61, nov. 2021

สุพจน์ เด่นดวง. (2553) ความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพและตัวกำหนดสุขภาพเชิงสังคม บทความการประชุมวิชาการเรื่อง Social determinants of health วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2553 ณ ห้องเกษม ลิ่ววงศ์

องค์การอนามัยโลก.(2552). ถมช่องว่างทางสุขภาพในช่วงชีวิตเรา :บรรลุความเป็นธรรมทางสุขภาพด้วยปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สุพจน์ เด่นด่วงแปลและเรียบเรียง สำนังานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Farmer, P. (1996, Winter). On Suffering and Structural Violence: A View from Below. Daedalus, 125(1): pp. 261-283.

Kunpeuk W, Teekasap P, Kosiyaporn H, Julchoo S, Phaiyarom M, Sinam P, Pudpong N. Suphanchaimat R. (2020)Understanding the problem of access to public health insurance schemes among cross-border migrants in Thailand through systems thinking. International journal of environmental research and public health. 2020 Jul;17(14):5113.

Tawaytibhongs O, Michielsen J. (2022) Universal Health Coverage for Undocumented Migrant Workers in Thailand: Challenges in Policy Implementation J Huma Soc Sci, 5 (3): 206-214. ISSN. 2022;2690:0688.

Myat Thwe, M. and Chuemchit, M. (2018) Factors affecting contraceptive utilization in Myanmar youth migrants in Samutsakhon province, Thailand. Journal of Health Research Vol. 32, Suppl.1, 2018 pp. S44-S52 doi: 10.14456/jhr.2018.6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30