ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มนักศึกษาพิการทางการมองเห็นที่มีระดับกิจกรรมทางกายเพียงพอในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • กิตรวี จิรรัตน์สถิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ทาริกา คำกิ่ง ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กิติยา หย่างถาวร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, นักศึกษาพิการทางการมองเห็น, แรงสนับสนุนทางสังคม, การสร้างเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การดำเนินการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายภายในกลุ่มผู้พิการเป็นความท้าทายต่อการยกระดับสุขภาพโดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการทางการมองเห็น อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้พิการทางการมองเห็นส่วนมากมีพฤติกรรมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอซึ่งเกิดจากอิทธิพลหลักของแรงสนับสนุนทางสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการดำเนินการด้านสวัสดิการต่อนักศึกษาพิการอย่างต่อเนื่องและนักศึกษาพิการทางการมองเห็นส่วนใหญ่ต่างมีระดับกิจกรรมเพียงพอ การศึกษาในประเด็นดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มนักศึกษาพิการทางการมองเห็นที่มีระดับกิจกรรมทางกายเพียงพอในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยกระบวนการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มนักศึกษาพิการทางการมองเห็นที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก จำนวน 10 คน และ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ เพื่อนหรือแฟนของผู้พิการ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมที่สำคัญต่อการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มนักศึกษาพิการทางการมองเห็นประกอบไปด้วย 1) ครอบครัว เพื่อน สังคม 2) สื่อสังคมออนไลน์ และ 3) การดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาพิการรวมถึงสถานที่และบริบทที่แตกต่างเพื่อให้เห็นชุดข้อมูลที่มีความหลากหลายมากขึ้น

References

Bull, F. C., Al-Ansari, S. S., Biddle, S., Borodulin, K., Buman, M. P., Cardon, G., . . . Willumsen, J. F. (2020). World Health Organization 2020 guidelines on physical activity and sedentary behaviour. Br J Sports Med, 54(24), 1451-1462.

Columna, L., Prieto, L., Elias-Revolledo, G., & Haegele, J. A. (2020). The perspectives of parents of youth with disabilities toward physical activity: A systematic review. Disabil Health J, 13(2), 100851.

Ellis, R., Kosma, M., Cardinal, B. J., Bauer, J. J., & McCubbin, J. A. (2007). Physical activity beliefs and behaviour of adults with physical disabilities. Disabil Rehabil, 29(15), 1221-1227.

Goodyear, V. A., Wood, G., Skinner, B., & Thompson, J. L. (2021). The effect of social media interventions on physical activity and dietary behaviours in young people and adults: a systematic review. The international journal of behavioral nutrition and physical activity, 18(1), 72.

Haegele, J. A., Kirk, T. N., & Zhu, X. (2018). Self-efficacy and physical activity among adults with visual impairments. Disabil Health J, 11(2), 324-329.

Inui, Y., Tanaka, Y., Ogawa, T., Hayashida, K., & Morioka, S. (2022). Relationship between exercise motivation and social support in a support facility for persons with disabilities in Japan. Ann Med, 54(1), 820-829.

Jacobs, J. M., Hammerman-Rozenberg, R., Maaravi, Y., Cohen, A., & Stessman, J. (2005). The impact of visual impairment on health, function and mortality. Aging Clin Exp Res, 17(4), 281-286.

King, G., Willoughby, C., Specht, J. A., & Brown, E. (2006). Social support processes and the adaptation of individuals with chronic disabilities. Qual Health Res, 16(7), 902-925.

Ku, B., & Rhodes, R. E. (2020). Physical activity behaviors in parents of children with disabilities: A systematic review. Res Dev Disabil, 107, 103787.

López-Sánchez, G. F., Grabovac, I., Pizzol, D., Yang, L., & Smith, L. (2019). The Association between Difficulty Seeing and Physical Activity among 17,777 Adults Residing in Spain. International journal of environmental research and public health, 16(21).

Salvy, S. J., Roemmich, J. N., Bowker, J. C., Romero, N. D., Stadler, P. J., & Epstein, L. H. (2009). Effect of peers and friends on youth physical activity and motivation to be physically active. J Pediatr Psychol, 34(2), 217-225.

Smith, L., Jackson, S. E., Pardhan, S., López-Sánchez, G. F., Hu, L., Cao, C., . . . Yang, L. (2019). Visual impairment and objectively measured physical activity and sedentary behaviour in US adolescents and adults: a cross-sectional study. BMJ open, 9(4), e027267.

Strecher, V. J., DeVellis, B. M., Becker, M. H., & Rosenstock, I. M. (1986). The role of self-efficacy in achieving health behavior change. Health Educ Q, 13(1), 73-92.

Zebracki, K. (2019). The good, the bad, and social media in adolescents with disability. Developmental Medicine & Child Neurology, 61(8), 856-856.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31