การพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, การมีส่วนร่วมของครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการดูแลตนเอง 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง 3) การสร้างรูปแบบ และ 4) การทดลองใช้รูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กำหนดระยะการวิจัยและพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการดำเนินงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบฯ ด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ของจังหวัดนนทบุรี จำนวน 380 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ร่วมกับการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ ระยะที่ 2 เป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างและทดลองใช้รูปแบบฯกับกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) Independent t-test และ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ 2) มีตัวแปรอิสระที่นำมาศึกษา 5 ตัว ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว (X5) ความคาดหวังความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง (X4) ความคาดหวังถึงผลของพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง (X3) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง (X2) และการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง (X1) 3) จากผลการศึกษาได้นำมาสร้างรูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว 4) เมื่อนำไปทดลองใช้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ ในกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรจะได้มีการนำรูปแบบฯนี้ไปใช้ในการดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป
References
ณัฐพงศ์ บัวแก้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจเชิงป้องกันกับพฤติกรรมการป้องกันโรค
ความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอำเภอโป่งน้ำร้อน
จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นภาพร แหวนแก้ว. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตาม
หลัก 3 self ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรค
ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ์. วารสารวิจัยสาธารณสุข
ศาสตร์, 8(2), 99- 110.
ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2552). ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น จำกัด.
สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). จำนวนและอัตราผู้ป่วย/ตายด้วย
โรคความดันโลหิตสูง ปี 2550-2557. นนทบุรี.
House, J. S. (1981). Work stress and social support. Reading, M A: Addison Wesley.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational
and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Rogers, R. W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. Journal
of Psychology, 91,93- 114.
Rogers, R. W. (1983). Social psychophysiology: A source. In J. T. Cacioppo & R. E.
Petty (Eds.), Cognitive and physiological processes in fear appeals and
attitude change: A revised theory of protection motivation). New York: Guilford.
Schepp, K.G. (1995). Psychometric assessment of the preferred participation scale for parents of hospitalized children. Doctoral Dissertation, Psychosocial & Community Health Department, School of Nursing, University of Washington.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล