การรับรู้ความเสี่ยงและผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ของคนเมืองอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การรับความเสี่ยง, ผลกระทบ, ฝุ่นควัน PM2.5, เมืองอุตสาหกรรม, จังหวัดสมุทรปราการบทคัดย่อ
สถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ในสังคมไทยปัจจุบันมีข้อท้าทายสำคัญคือการจัดการปัญหาได้อย่างครอบคลุมและสามารถลดผลกระทบจากฝุ่นควันในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพได้อย่างยั่งยืน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ความเสี่ยงและผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ของคนเมืองอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ของคนเมืองอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจึงได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรวัยแรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 363 คน ด้วยแบบสอบถามและอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ผลการศึกษาพบว่า
1) คนเมืองอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการมีการรับรู้ความเสี่ยงจากฝุ่นควัน PM2.5 ดีกว่าระดับปกติ และไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบฝุ่นควัน PM2.5 ปรากฏ
ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ได้แก่ ศาสนา ความล่อแหลมจากที่อยู่อาศัย สถานะทางสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันตัวและการปรับตัวในสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 และทัศนคติทางสังคมที่มีต่อความเสี่ยงในสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 มีความเกี่ยวข้องกับการได้รับผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5
References
เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและ
แนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. กรุงเทพฯ:
กองจัดการ คุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ. สืบค้นจาก, http://air4thai.pcd.go.th/webV2/
aqi_info.php
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2564). ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก, http://
reg.diw.go.th/executive/prov2.asp?prov=11
กรีนพีซ. (2560). สถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ใน 14 เมืองของ
ประเทศไทย ปี พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: กรีนพีซ.
กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM 2.5. กรุงเทพฯ: กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2564).
พื้นที่ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก,
https://acair.cmu.ac.th/?page_id=8
ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2561). นิเวศวิทยามนุษย์: การศึกษาสิ่งแวดล้อมในมิติของสังคมและวัฒนธรรม. เชียงใหม่:
ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชษฐา พวงหัตถ์. (2559). สภาวะสมัยใหม่และความเสี่ยง: มุมมองทางสังคมวิทยา. วารสารวิชาการคณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 9-38.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2563). มานุษยวิทยากับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5. สืบค้นจาก, https://www.
sac.or.th/main/th/article/detail/106
ประชาธิป กะทา, และสิทธิโชค ชาวไร่เงิน. (2561). ระบาดวิทยาวัฒนธรรม. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและ
สุขภาพ (สวสส.).
ปราติหารย์ มีคุณ. (2563). ความเปราะบางและผลกระทบทางสังคมในระดับครัวเรือนจากหมอกควันตำบลอัย
เยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ฝุ่น PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง ประเมิน 2 สัปดาห์...ค่าเสียโอกาสด้านสุขภาพ 7-8
ร้อยล้านบาท. สืบค้นจาก, https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages
/FB-dust-30-09-19.aspx
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ฝุ่น PM 2.5 กระทบเศรษฐกิจเท่าไหร่?. สืบค้นจาก, https://kasikornresearch.
com/th/analysis/k-social-media/Pages/FB-PM25-23-01-20.aspx
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2563). การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกัน
ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุข
ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. นนทบุรี: กองประเมินผลกระทบต่อ
สุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ภาษาอังกฤษ
Choy, T. (2012). Air's Substantiations. In: Rajan, SK (ed.). Lively Capital. (pp.121-155). London:
Duke University Press.
Douglas, M. and Wildavsky, A. (1982). Risk and Culture: An Essay on Selection of Technological
and Environmental Dangers. Berkeley: California University Press.
IQAir. (2020). Word Air Quality Report: Region & City PM2.5 Ranking. Retrived from, https://www.
greenpeace.org/static/planet4-romania-stateless/2021/03/d8050eab-
world_air_quality_report.
Patel, L., and et al. (2021). Air pollution as a Social and Structural Determinant of Health. The
Journal of Climate Change and Health. 3. https://doi.org/10.1016/j.joclim.2021.100035
Peter, S. (2020). Integrating Key Insights of Sociological Risk Theory into the Ecosystem Services
Framework. Sustainability, 12, 6437.
Starr, G., Langley, A., and Taylor, A. (2000). Environmental Health Risk Perception in Australia.
Adelaide: Centre for Population Studies in Epidemiology South Australian Department
of Human Services.
Talbot, N. (2019). Air quality and societal impacts from predicted climate change in Auckland.
Auckland: Auckland Council.
Thompson, M., Ellis, R., and Wildavsky, A. B. (1990). Cultural Theory. CO: Westview Press.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2nd Edition). New York: Harper and Row.
Zin, J. O. (2004). Sociology and Risk. Canterbury: University of Kent.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Pychaniphat Wichaino
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล