กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกที่มีผลต่อความสำเร็จของ ผู้ประกอบการที่นอนยางพาราของไทย

ผู้แต่ง

  • จรูญ ชำนาญไพร จรูญ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การส่งออก การส่งออกทางอ้อม การส่งออกโดยตรง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการ ที่นอนยางพาราของไทย 2) ศึกษาถึงระดับความสำเร็จของกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกของผู้ประกอบการที่นอนยางพาราของไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ถึงความมีอิทธิพลของกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จของผู้ประกอบการที่นอนยางพาราของไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่นอนยางพาราของประเทศไทยจำนวน 30 คน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านลักษณะของผู้ประกอบการที่นอนยางพาราของไทย ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัด อยู่ในกลุ่มธุรกิจโรงงานผลิตและจำหน่าย และมีระยะเวลามากกว่า 5 ปี ซึ่งการส่งออกที่นอนยางพารา ส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศจีนมากที่สุด โดยการขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ใช้วิธีทางน้ำ 2) ระดับความสำเร็จของกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออก พบว่า ใช้วิธีการที่มีความเสี่ยงน้อย และการส่งออกทางอ้อม โดยการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศผ่านบริษัทจัดการส่งออกมาทำหน้าที่เป็นผู้กระจายสินค้าทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มาก 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจส่งออกสินค้าที่นอนยางพาราของผู้ประกอบการไทย พบว่า กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการที่นอนยางพาราของไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ต้องคำนึงถึง สภาพทางการเงิน การสนองตอบความต้องการลูกค้า การสร้างสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ การส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ และการได้รับความยึดมั่นผูกพันจากพนักงาน

References

กรมค้าภายใน. (2563). ผู้ประกอบการที่นอนยางพาราของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.dit.go.th.
กองวิจัยเศรษฐกิจยาง. (2563) สรุปสถานการณ์ราคายางพาราในไตรมาสที่ 3/2563 และแนวโน้มไตรมาส 4/2563. สืบค้นจาก http://www.rubber.co.th/ewt_dl_link.php?nid=6499&filename=index
เฉลิมเกียรติ ศรีละกูล. (2557). การศึกษาความต้องการใช้บริการเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกในจังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นุชจารี กล้าหาญ. (2555). กลยุทธ์การตลาดส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติของประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีมหาบัณฑิตบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์. (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปไทยไปตลาดอาเซียน.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยรังสิต). ปีที่ 10 ฉบับที่ 18 หน้า 7-21
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2557). ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำเข้า-ส่งออกไทยในการค้าระหว่างประเทศกับจีน. Especially of Logistics Supply Chains and Trading Magazine Freight Max. WordPress.
วจนะ ภูผานี. (2558). กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดระดับโลก. สืบค้นจาก http://www.slideshare.net/king kongzaa/ 5-gm-market-entry.
วณัฐชา ชาติพงศ์. (2551). การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2559). การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 หน้า 281-303
สุวภรณ์ พิมาน. (2559). การส่งเสริม การส่งออก การแปรรูป ยางพาราสินค้าเกษตรไทยสู่ตลาดรัสเซีย เพื่อช่วยแก้ปัญหา ราคายางพาราตกต่ำในปัจจุบัน (กรณีการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่นอนและหมอนยางพาราแท้). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30