ความมุ่งมั่นการประกอบอาชีพของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ในงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่มีต่อผลการดำเนินงานตามหลัก Balanced Scorecard

ผู้แต่ง

  • เจษฎา ริดสันเทียะ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ความมุ่งมั่นการประกอบอาชีพ ผลการดำเนินงาน บาลานซ์สกอร์การ์ด อุตสาหกรรมการก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความมุ่งมั่นการประกอบอาชีพของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ในงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่มีต่อผลการดำเนินงานตามหลัก Balanced Scorecard ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับของความมุ่งมั่นการประกอบอาชีพของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ขึ้นไป ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง 2) วิเคราะห์ระดับผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ภายใต้แนวคิด Balanced Scorecard ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการเติบโต และ 3) วิเคราะห์ปัจจัยความมุ่งมั่นการประกอบอาชีพของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมก่อสร้างตามหลัก Balanced Scorecard งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ของสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยเน้นเฉพาะนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 4 ขึ้นไป จำนวน 127 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีเจาะจงเลือกตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานด้วยแบบจำลองพหุคูณเชิงซ้อน

ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมระดับของความมุ่งมั่นการประกอบอาชีพของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ขึ้นไป ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้างอยู่ในระดับมาก (4.07) โดยมีปัจจัยด้านความกล้าเสี่ยง ปัจจัยด้านความสามารถทางนวัตกรรม ปัจจัยความก้าวร้าวในการแข่งขัน ปัจจัยการดำเนินงานเชิงรุก และปัจจัยความเป็นอิสระ อยู่ในระดับมากทุกปัจจัย (4.11  4.10  4.06  4.04 และ 4.02) สำหรับปัจจัยผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมก่อสร้างภายใต้แนวคิด Balanced Scorecard ในภาพรวม พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (4.40) โดยปัจจัยด้านการเรียนรู้และการเติบโต ปัจจัยด้านกระบวนการภายใน ปัจจัยด้านลูกค้า และปัจจัยด้านการเงิน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกปัจจัย (4.49  4.44  4.34  และ 4.33) อีกทั้งผลการวิจัยยังพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อระดับผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมก่อสร้างภายใต้แนวคิด Balanced Scorecard คือ ปัจจัยด้านความสามารถทางนวัตกรรม (ß = 0.489) ส่วนปัจจัยด้านความกล้าเสี่ยง ปัจจัยด้านความก้าวร้าวในการแข่งขัน ปัจจัยด้านการดำเนินงานเชิงรุก และปัจจัยด้านความเป็นอิสระ มีผลทางตรงเชิงบวก แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ยอมรับได้

References

กรญา ลิ้มโอฬารสุขสกุล. (2559). เจตคติของ Generation Y ต่อภาวะผู้นำ กรณีศึกษา พนักงานที่ทำงานในสาขาการเงินและการธนาคารในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ดุษฎี นาคเรือง. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลที่มีต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
ดุษฎี นาคเรือง, และขวัญกมล ดอนขวา. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 38 (2), 17-34.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล, กฤษยา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์, และชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36 (141), 1 - 17.
ตฤณ ไหมฉิม, และณัฐวุฒิ บุญศรี. (2562, สิงหาคม). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง : กรณีศึกษาผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดภูเก็ต. โปสเตอร์นำเสนอในการประชุมวิชาการด้านมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 “มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม”. หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550.
นิลาวัลย์ สว่างรัตน์. (2558). อิทธิพลเชิงโครงสร้างของความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการตลาดการมุ่งเน้นนวัตกรรม และการมุ่งเน้นการเรียนรู้ ที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์การ. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8 (3), 958 – 975.
พงศกร ศรีรงค์ทอง, และจินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์. (2562). การธำรงรักษาบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวายขององค์กรภาครัฐและเอกชน. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8 (2), 26 – 47.
ทิพย์อนงค์ เจียรสถาวงศ์. (2557). การศึกษาความพึงพอใจในเรื่องการเลือกบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดเล็กของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
ภาคภูมิ นันทปรีชา. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินงานโดยตัวชี้วัดตามแนวคิด Balanced Scorecard : กรณีศึกษา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์), 9(1), 135 – 145.
วาสิตา บุญสาธร. (2556). การส้รางความมุ่งมั่นและพัฒนาขับเคลื่อน เพื่อนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7 (1), 307 – 355.
ศูนย์บริการการศึกษา. (2564, 29 มกราคม). เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาระบบ ศูนย์บริการการศึกษา. [บทสัมภาษณ์].
สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. [ออนไลน์]. 2554. แหล่งที่มา: https://dictionary.orst.go.th/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). การศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานในประเทศไทย ช่วงปี 2560 – 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. (ม.ป.ท.).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สภาพัฒน์เผยรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2562. [ออนไลน์]. 2563. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ ewt_news.
php?nid=9953&filename=.
Ginzberg, E. (1940). Career guidance. New York: McGraw-Hill Co. Guay et al., (2006). Distinguishing Developmental from Chronic Career Indecision: SelfEfficacy, Autonomy, and Social Support. Journal of career assessment, 14 (2), 235- 251.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2005). The balanced scorecard: measures that drive performance. Harvard business review, 83(7), 172.
Nakruang, D., Donkwa, K., and Suvittawat, A. (2020). “The Causal Factors Influencing Corporate Sustainability Performance: Case of Community SMEs in Three Southern Border Provinces, Thailand”. Entrepreneurship and Sustainability Issues. ISSN 2345-0282 (online) 7(3):1459-1471 DOI: 10.9770/jesi.2020.7.3(2) (SCOPUS since 2017, Q1)
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). “On the use of content specialists in the assessment of
criterion-referenced test item validity”. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Tavakol, M., & Dennick, R.(2011). “Making sense of Cronbach’s alpha”. International Journal of Medical Education, 2, 53-55.
Yamane, T. (1967). Elementary sampling theory.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (No. HA29 Y2 1967).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18