การดำเนินธุรกิจผู้ประกอบการด้านกีฬาในยุคการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างพลิกผัน

ผู้แต่ง

  • สัจจวัฒน์ จารึกศิลป์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมุมมองทางด้านกีฬาของคนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจากเดิมที่กีฬา
เป็นเรื่องของการออกกำลังกาย การเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย และการรักษาสุขภาพ จนเกิดวลีที่ว่า  
“กีฬาเป็นยาวิเศษ” แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมมนุษย์ การเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงการเจริญก้าวทางหน้าเทคโนโลยี ทำให้มุมมองทางด้านกีฬาเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจกีฬาในทุกระดับและมีส่วนในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศ

ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในอดีตจนถึงปัจจุบันก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมเป็นวงกว้างในเชิงพลวัต คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และพลิกผัน ส่งผลให้ธุรกิจหลายภาคส่วนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง หากกลุ่มธุรกิจใดที่มีการรับมือและเตรียมความพร้อมสู่การเติบโตและเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีรวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เร็วจะเป็นกลุ่มที่สามารถเก็บเกี่ยวส่วนแบ่งทางการตลาดและก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำทางธุรกิจในประเภทนั้นๆ ได้มากกว่าธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวต่อการเข้ามาของเทคโนโลยีได้ทัน อีกทั้งกลุ่มธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันจะยังคงมีความเสี่ยง หรือผลกระทบที่รุนแรงในอนาคตก็เป็นได้ (วินเน่ย์ โฮรา และคณะ, 2020)

          สำหรับในธุรกิจกีฬา การดำเนินธุรกิจในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างพลิกผลันทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากมีการปรับตัวในธุรกิจให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ประกอบการไม่น้อยที่ยังคงดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมและปรับตัวในธุรกิจของตนเองให้มีความพร้อมในสภาวะการณ์ปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สามารถอยู่รอดในธุรกิจและต่อกรกับคู่แข่งในอนาคตได้ นั่นคือ 1) การพัฒนาความรู้ของบุคลากร 2) การจัดทำฐานข้อมูลลูกค้า 3) ความทันสมัยของร้านค้าและสินค้า 4) ความรวดเร็วในการให้บริการ และ 5) รับฟังเสียงสะท้อนจากลูกค้า เป็นต้น

 

 

คำสำคัญ: การดำเนินธุรกิจกีฬา/ ผู้ประกอบการด้านกีฬา/ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างพลิกผัน

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจกีฬา. บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือน กันยายน 2561.
โกศล จิตวิรัตน์. (2561). โมเดลการปรับตัวขององค์กรธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2): 74-88.
พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ. (2557). ธุรกิจกีฬาโตได้อย่างไร. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://phongzahrun.wordpress.com/2014/04/28/.
สมทบ ฐิตะฐาน. (2016). การขับเคลื่อนอุตสาหรรมกีฬาโอกาสและความท้าทาย. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.smat.or.th/view/5b73dacf46d46a0f7fe45dca.
ชนินทร เพ็ญสูตร. (2560). ประเทศไทย 4.0 บริบททางเศรษฐกิจ และการเมือง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1): 67-99.
ปานเลขา ปานรอด และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน แอพพลิเคชั่น LAZADA. การประชุมวิชาการระดับชาติ สังคมศาสตร์วิชาการครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 46-54.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป). นโยบายไทยแลนด์ 4.0. [บทความพิเศษ] เทคโนโลยี Internet of Things และนโยบาย Thailand 4.0.
สิทธพล วิบูลย์ธนากุล. (2563). สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคครึ่งปีแรก 2020 เปลี่ยนไปอย่างไรจาก COVID-19. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/consumer-insight-covid-19/.
ศรสวรรค์ สิริวัฒนเศรษฐ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาไนกี้ (NIKE) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ศรีบวร เอี่ยมวัฒน์. (2561). แนวโน้มของ Disruptive Technology และความเป็นไปได้ของรูปแบบธุรกิจในอนาคตของเครื่องถ่ายเอกสารในประเทศไทย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
รัตติยา อังกุลานนท์. (2561). สเต็ปตัดสินใจซื้อสินค้า 4 หมวดผ่าน “ออฟไลน์ - ออนไลน์”. [ออนไลน์]. สืบค้น จาก https://www.thebangkokinsight.com/11334/.
ทวีศักดิ์ ประสิทธิ์อ้น และคณะ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารองค์กรอุตสาหกรรมกีฬาประเภทผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกอุปกรณ์การกีฬา. Journal of Nakhonratchasima College, 10(2): 165-180.
เอ็มจีอาร์ ออนไลน์. (2558). “ลาซาด้า” เผยสถิติ-พฤติกรรมนักชอปออนไลน์อาเซียน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://mgronline.com/business/detail/9580000064549.
วินเน่ย์ โฮรา และคณะ. (2020). ผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของประเทศไทย ประจำปี 2020. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www2.deloitte.com/th/en/pages/technology/articles/the-thailand-digital-transformation-survey-report-2020-th.html#.
Oxford College of Marketing. (2016). Digital Disruption: What Is It and How Does It Impact Businesses?. [Online] Retrieving From https://blog.oxfordcollegeofmarketing.com/2016/02/22/what-is-digital-disruption/.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. (5th ed.). Englewood Cliffs,
N. J. : Prentice-Hall.
Solomon, M. R. (1996). Consumer Behavior. (3rd ed). Englewood Cliff, NJ.: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29