อิทธิพลของภาวะผู้นำเหนือผู้นำที่มีต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปรียานุช ศรีสุขคำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ, ประสิทธิผลของโรงเรียน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

          ผลการวิจัยพบว่า

1) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประกอบด้วย 7 ด้าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ “มาก” ทุกด้านเรียงอันดับพบว่า การที่ผู้นําแสดงเป็นแบบฉบับที่เป็นผู้นําตนเองและการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง เป็นสองด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด

2) ประสิทธิผลโรงเรียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ “มาก” ทุกด้านเรียงอันดับพบว่า ความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูง เป็นด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด

3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร (x) และประสิทธิผลโรงเรียน (y) มีความสัมพัน์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นตัวพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 มี 2 ด้านคือ ด้านการอํานวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นําตนเองโดยการให้รางวัลและตำหนิอย่างสร้างสรรค์ และการทําให้บุคลากรเป็นผู้นําตนเอง  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.724 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยที่เป็นบวกทุกค่า มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 52.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 0.41 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ 

สมการณ์พยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน 

คำสำคัญ ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ, ประสิทธิผลของโรงเรียน

References

[1] Daft (2005 อ้างใน ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี, 2562). การพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ: แนวคิด
ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพ : ปัญญาชน.
[2] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 (2540 - 2544). สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=develop_issue&nid=3783
[3] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ :
พริกหวานกราฟฟิค.
[4] จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. มหาวิทยาลัยบูรพา
[5] เจริญศรี พันปี. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่
บริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] Man and Sims (1991 อ้างใน สุรีย์มาศ สุขกสิ. 2553). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาภาวะผู้นำ
เหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี.
มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
[7] วรเทพ ภูมิภักดีพรรณ. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผุ้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
อาชีวศึกษาเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา,
[8] สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต1. (2563). ข้อมูลสารสนเทศ สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563,
จาก https://eservice.sesao1.go.th/info/maps/student.
[9] Krejcie & Morgan (1970 อ้างใน ชูชาติ พ่วงสมจิตร. 2558). การออกแบบวิจัยและการสร้างเครื่องมือ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[10] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[11] เตือนใจ สมคิด. (2556). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดระยอง สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. มหาวิทยาลัยบูรพา,
[12] สุชาดา บินยามัน. (2558). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านฉาง
กาญจนกุลวิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18.
มหาวิทยาลัยบูรพา.

[13] ชัชชญา พีระธรณิศร์. (2563). ความท้าทายการจัดการศึกษาในยุค Disruptive change ของผู้บริหาร
สถานศึกษา. วรสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4(2). สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564,
จากhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/240199
[14] เชาวนี อยู่รอด. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับ
ประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
เขต 1. การศึกษามหาบัณทิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา,
[15] สายใจ ชูฤทธิ์. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. ครุศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษธานี
[16] สายปัญญา มาหนู. (2552). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี
การศึกษามหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18