การบริหารงานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: บทสำรวจวรรณกรรม

ผู้แต่ง

  • Nipapan Jensantikul Khon Kaen University

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, สวัสดิการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วรรณกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงปัญหา อุปสรรคและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารงานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุและนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้วยการศึกษางานวรรณกรรมจากฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยในปี 2563 และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1) ด้านปัญหา อุปสรรคของการบริหารงานด้านผู้สูงอายุ จำแนกเป็น 1.1) ด้านบุคลากร ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุแบบ       สหสาขาวิชาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 1.2) ด้านประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่มีความซับซ้อนและล่าช้า  1.3) การโอนภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการโอนภารกิจแต่ไม่ได้รับการโอนงบประมาณ และอำนาจการตัดสินใจ 2) ด้านบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุที่ถูกแทรกแซงการกำหนดนโยบายโดยส่วนกลาง ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้หรือดำเนินการตามกฎหมายได้ ขาดความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง 3) การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ มีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยตรง และมีความร่วมมือจากหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาท้องถิ่น

References

กานดา เต๊ะขันหมาก และคณะ (2559). รูปแบบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5 (3), 187-202.
ขนิษฐา กิจเจา และคณะ. (2558). รายงานวิจัย การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละ ช่วงวัย. สงขลา: ไอคิว มีเดีย.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2558). การทบทวนกฎหมายและนโยบายด้านผู้สูงอายุสู่การจัดการสุขภาพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 1 (2), 149-163.
ชลธิดา อุเทศนันท์ และมนตรี กรรพุมมาลย์. (2561). รูปแบบที่เหมาะสมของยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุแบบภาคีมีส่วนร่วมในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(2), 10-24.
ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน และกันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของ ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 25- 36.
ดวงใจ เชยชม และพรชัย เลื่อนฉวี. (2560). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารการเมืองการปกครอง, 7 (1), 207-227.
ดุสิดา พุทธิไสย. (2563). เรื่องเล่าจากปก. e-Magazine MOL. 18 (27), 5-7.
เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ. (2563). นวัตกรรมนโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในภาคตะวันออก. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 9 (1), 161-186.
ไทยมณี ไชยฤทธิ์. (2563). การจัดสรรความสุขให้กับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6 (2), 255-266.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: สถานการณ์และแนวทางการจัด สวัสดิการในประเทศไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม. วารสาร PAAT Journal, 2(3), 15-26.
เบญจมาศ อรุณพงศ์ศิริ. (2557). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตมหาจุฬา ขอนแก่น, 1 (2), 67-78.
พรสรรค์ ปิยนันทิศักดิ์. (2563). รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยชุมชนในจังหวัด ขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7 (2), 209- 226.
ภาคิน กิติคุณนิติพงศ์ และคณะ. (2561). การบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อ รองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์), 4 (2), 94-107.
ศราวุฒิ บัณฑิตเมธาพงศ์ และคณะ. (2557). การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สวัสดิการผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก. สักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20 (1), 91-102.
เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล. (2555). นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1 (1), 146-165.
รุ่งทิวา ปินใจ. (2558). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำปาง. หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักโฆษก. (2563). รัฐบาลเดินหน้าแผนผู้สูงอายุ รองรับสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ปีหน้า. สืบค้น เมื่อ 1 ธันวาคม 2563, จาก https://www.ryt9.com/s/govh/3083945
Abdullahi, M. & Othman, N. (2020). Bridging the Gap between Policy Intent and Implementation. JOSTIP, 6 (1), 1-10.
Aimimtham, S., Panyasing, S., Kampaengsirichai, J. and Purnomo, E.P. 2020. Human Security of Pensionable Officials and Elderly Association Members: The Case of Thailand. International Journal of Economics & Business Administration, 8 (4), 30-43.
Calland, G. (2010). Bridging the gap between Policy and Action. Journal of E-Learning and Knowledge Society, 6 (1), 13-27.
Joshi, A. & Moore, M. (2004). Institutionalised Co-production: Unorthodox Public Service Delivery in Challenging Environments. The Journal of Development Studies, 40 (4), 31-49.
Kamhom, R. (2011). Social Welfare in the Thai Society. (3 ed.). Bangkok: Charansanitwong Press.
Khamngae, S., et al. (2014). Social Welfare Needs and Policies for Elderly People in Thailand: A Case Study in Pitsanulok Community. Asian Social Science, 10 (12), 142-148.
Lowatcharin, G & Stallmann, J.I. (2017). Engaging Citizens in Public Service Co-production: Lessons from Volunteer-Based Road Construction in Thailand’s Local Government. Social Science Asia, 3 (2), 116-139.
Pestoff, V. (2011). Co-production, New Public Governance and Third Sector Social Services in Europe. Ciências Sociais Unisinos, 47 (1), 15-24.
Pornsan, P., et al. (2021). Guidelines to Improve Public Service Administration for Thailand Reform: Reflections from the Northeast. Psychology and Education, 58 (1), 1314-1317.
Sorrentino, M. Sicilia, M. & Howlett, M. (2018). Understanding Co-Production as a New Public Governance Tool. Policy and Society, 37 (3), 277-293.
Thoongsuwan, A. Pavapanunkul, S. & Mahittichatkul, N. (2017). The Co-Production Model of Thai Film Industry and Movie Business: Applying the Conceptualization of Compassionate Love Relationship-Led Merit Based Investment. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 6(2), 66-75.
Vanleene, D. Verschuere, B. & Voets, J. (2015). Benefits and Risks of Co-production: A preliminary literature review. Paper for the IIAS Conference on co-production of public services, Nijmegen, June 2015, 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-01