ปัจจัยสนับสนุนการจัดทำข้อเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กข้ามชาติของโรงเรียน ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กข้ามชาติในระบบการศึกษา จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
ข้อเสนอโครงการ นักเรียนข้ามชาติ การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการจัดทำข้อเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กข้ามชาติของโรงเรียน ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กข้ามชาติในระบบการศึกษา จังหวัดชุมพร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบกรณีศึกษา โดยกรณีศึกษาคือ โรงเรียนที่สามารถจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ได้สำเร็จ 2 โรงเรียน เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่กี่ยวข้องกับโครงการฯ ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ 3-4 คนต่อพื้นที่ หรือจนว่าข้อมูลจะอิ่มตัว ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผ่านโปรแกรมการประชุมออนไลน์ซูม ด้วยแนวคำถาม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ตรวจสอบความครบถ้วนและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ประกอบด้วย 1) การมียุทธศาสตร์จังหวัด 2) การกำหนดเป้าหมายโครงการฯ ร่วมกัน 3) การมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) การพัฒนาศักยภาพด้านการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ 5) การสนับสนุนทางวิชาการ และ 6) ศักยภาพของคณะทำงาน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ 1) การผลักดันนโยบายของจังหวัดที่เอื้อต่อการจัดการสุขภาวะเด็กข้ามชาติในระบบโรงเรียนไปสู่การปฏิบัติ 2) การพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นให้กับคณะทำงาน 3) การสนับสนุนทางวิชาการจัดให้มีพี่เลี้ยงของโรงเรียน และ 4) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับ “แนวทางการบริหารโครงการฯที่มีประสิทธิภาพ” โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
References
Cambridge University Press.
Decharatanachart, W. (2019). The Development of Health Insurance Model
for Migrant Workers’ Dependents Based on Migrant Workers’ Perception: A
Case Study of Samut Sakhon Province. (Doctoral dissertation)., Mahidol University, Nakhon Pathom.
United Nations Thematic Working Group on Migration in Thailand. (2019). Thailand
Migration Report 2019. Bangkok: Ainergy Studio Company Limited.
UNICEF. (2017). Results-based Management Handbook: Working together for Children. Bangkok: United Nations Children’s Fund (UNICEF).
ธีรเดช ฉายอรุณและประภาพรรณ อุ่นอบ. (2561). การประเมินต้นน้ำ (Upstream Evaluation).
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด.
มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท.(2019).รายงานความก้าวหน้าประจำเดือน (พฤษภาคม -ธันวาคม 2562) โครงการโครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กข้ามชาติในระบบการศึกษา จังหวัดชุมพรภายใต้ ชุดโครงการพัฒนาสุขภาวะประชากรข้ามชาติพื้นที่ชายแดนและข้ามแดนผ่านระบบการศึกษา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร และมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท. (2018). เอกสารถอด
บทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะแก่เด็กข้ามชาติในระบบการศึกษา จังหวัดชุมพร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2562). การประชุมวิชาการระดับชาติด้านสุขภาพของประชากรข้าม
ชาติ ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 ณภัทร ประภาสุชาติ, ภัทรียา กิจเจริญ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล