ปัจจัยคาดทำนายการรับประทานวิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ไทย

ผู้แต่ง

  • ปภาวี ไชยรักษ์ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

วิตามินโฟลิก, หญิงวัยเจริญพันธุ์, ภาวะพิการความพิการแต่กำเนิด, โครงการวิวาห์สร้างชาติ, ระดับความรู้เกี่ยวกับวิตามินโฟลิกต่อการตั้งครรภ์, ระดับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการรับประทานวิตามินโฟลิกต่อการตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับวิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิก และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการรับประทานวิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ลงทะเบียนขอรับวิตามินจากเพจวิวาห์สร้างชาติ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เกี่ยวและระดับการรับรู้สมรรถะแห่งตนต่อพฤติกรรมการรับประทานวิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิกต่อการตั้งครรภ์ในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 235 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เกี่ยวกับวิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิกในระดับปานกลาง มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการรับประทานวิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิกต่อการตั้งครรภ์ในระดับดี และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ระดับความรู้และระดับการับรู้สมถรรนะแห่งตนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานวิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิก (p>0.05) จากผลการศึกษาจึงควรมีการส่งเสริมความรู้ต่อวิตามินเสริมธาตุเหล็กและโฟลิกควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ต่อการรับรู้ประโยชน์ของวิตามินเสริมธาตุเหล็กและฟลิก เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์

References

1.สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 29 มกราคม 2563 , สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก
Gazette2020TH.pdf (mahidol.ac.th).
2.จำนวนการเกิดทั่วประเทศย้อนหลัง 10 ปี , สำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th.
3.ข้อมูลเฝ้าระวัง ,อัตราตายทารกแรกเกิด ปี พ.ศ. 2563 , DOH Dashboard กรมอนามัย, [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก ข้อมูลเฝ้าระวัง (moph.go.th).
4.โครงการระดับชาติพัฒนาต้นแบบจังหวัดและอำเภอเพื่อป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิด
ในประเทศไทย, 2558-2560.
5.สุทธิพงษ์ ปังคานนท์, จุฬาลักษณ์ คุปตานนท์ ,เด็กกลุ่มอาการดาวน์ ,บรรณาธิการกรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ 1:
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, 2556.
6.ศูนย์สื่อสารสาธารณะกรมอนามัย. (2563). สธ. จัด‘วิวาห์สร้างชาติ’มุ่งสร้างประชากรคุณภาพแก้ปัญหา‘เด็กเกิด
น้อย ด้อยคุณภาพ.
7.จุฬาภรณ์ โสตะ. (2546). กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
8.Salgues, M., Damase-Michel, C., Montastruc, J. L., & Lacroix, I. (2017). [Women's knowledge of folic acid]. Therapie, 72(3), 339-343.
9.Yamamoto, S., & Wada, Y. (2018). Awareness, use and information sources of folic acid supplementation to prevent neural tube defects in pregnant Japanese women. Public Health Nutr, 21(4), 732-739.
10. Rofail, D., Colligs, A., Abetz, L., Lindemann, M., & Maguire, L. (2012). Factors contributing to the success of folic acid public health campaigns. Journal of public health (Oxford, England), 34(1), 90-99. doi:10.1093/pubmed/fdr048.
11.Rodrigues, C. R., & Dipietro, N. A. (2012). Knowledge of folic acid and counseling practices among
Ohio community pharmacists. Pharm Pract (Granada), 10(3), 168-172. doi:10.4321/s1886-36552012000300007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29