การศึกษาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ภานุพงศ์ เพ็งเรือง วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน ปัญหาและอุปสรรค หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานคร ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านผู้สอนและผู้เรียน 3) ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน 4) ด้านสื่อ อุปกรณ์และสถานที่ 5) ด้านการวัดผล และประเมินผล โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากครูผู้สอนสาขาวิชาดนตรี วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร 1 คน ผู้เรียน 4 คนครูผู้สอนสาขาวิชาดนตรี วิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี 2 คน ผู้เรียน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านดนตรี มีประสบการณ์ในการสอนระหว่า 20ปี-30ปี ผู้สอนจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล ใช้รูปแบบการสอนแบบ Learning by Doing ผู้เรียนส่วนมากไม่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านดนตรีมาก่อน ผู้สอนเริ่มสอนจาก ทฤษฎี ในเอกสารประกอบการเรียน และลงสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล มีกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนให้ผู้เรียน แสดงความสามารถในกิจกรรมภายในสถานศึกษา สื่อและอุปกรณ์ดนตรีมีให้ผู้เรียนครบถ้วน และมีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการวัดผลและประเมินผลในกระบวนการเรียนการสอนตลอดการเรียน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนพบว่าการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นมีความยืดหยุ่นสูง เพราะหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ โดยไม่จำกัดอายุและเพศ ผู้เรียนใช้เวลาการฝึกซ้อมส่วนใหญ่ในชั่วโมงเรียน เครื่องดนตรีที่ใช้  ในการการสอนในปัจจุบันไม่มีความทันสมัยเพราะใช้ในการสอนเป็นเวลานานแล้ว ห้องที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนไม่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีบางประเภท ห้องเรียนเดี่ยวแยกตามเครื่องดนตรีไม่มี เพราะสถานที่ของสถารศึกษามีจำนวนจำกัด ผู้สอนวัดผลและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ในการสอบและการให้คะแนนแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอน

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วีพริ้นท์ (1991) จำกัด.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี : ฉบับปรับปรุงแก้ไข. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำริห์ บรรณวิทยกิจ. (2545). แนวการสอนดนตรีปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ สาระดนตรีศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2553). บทบาทของผู้ปกครองในการสนับสนุนการเรียนดนตรี. ค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม. จาก http://mcpswis.mcp.ac.th/html¬¬_edu/cgi bin/mcp/main_php/ print_ informed.php?id_count_ inform=12059
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่4. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม. จาก http://site.ksp.or.th/content.php?site=library&SiteMenuID=4609&Action=view&Sys_Page=&Sys_Pag eSize=&DataID=2413
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2553). คู่มือผู้ประเมินเพื่อการประเมินภายนอกกรอบสามด้านการอาชีวศึกษา (พ.ศ. 2554-2558). กรุงเทพมหานคร: ออฟเซ็ท พลัส
อภิชัย เลี่ยมทอง. (2555). หลักสำคัญสำหรับการฝึกซ้อมดนตรีเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด. วารสารดนตรีรังสิต, 7(1), 29-39.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29