The การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโสตทักษะในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษา หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
-
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอน, โสตทักษะ, อุดมศึกษา, Music Instruction, Ear Training, Graduate Studyบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาโสตทักษะในระดับอุดมศึกษาใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน 2) ด้านวิธีการสอน 3) ด้านเนื้อหาสาระการเรียนการสอน 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล โดยศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตการสอนแบบไม่มีส่วนร่วม จากอาจารย์ผู้สอนรายวิชาการฝึกโสตและการอ่านโน้ต จำนวน 3 คน ตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 3 คน และหัวหน้ารายวิชาการฝึกโสตและการอ่านโน้ต จำนวน 1 คน
ผลวิจัยพบว่า 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน กำหนดโดยหัวหน้ารายวิชา ผู้สอน 2 คน เน้นการสอนเรื่องเสียงประสาน ผู้สอน 1 คน เน้นการสอนในทุกเรื่อง 2) ด้านวิธีการสอน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ใช้วิธีการสอนแบบผสมผสาน คือ การบรรยาย การสาธิตและการปฏิบัติ 3) ด้านเนื้อหาสาระในการเรียนการสอน เป็นไปตามคำอธิบายวิชาและเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ มีการนัดหมายเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนในหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจหรือยังปฏิบัติได้ไม่ดี 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมขึ้นอยู่กับผู้สอนแต่ละคน และมีเปียโนเป็นสื่อการสอนอยู่เสมอ 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล การวัดผลจะเป็นการเก็บคะแนนและมีการแบ่งสัดส่วนคะแนนอย่างชัดเจน มีการวัดผลทั้งระหว่างเรียนและหลังเรียนและมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวัดผล โดยจากการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน ได้ให้ข้อเสนอแนะเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนว่า ควรกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้สอนปฏิบัติตามได้ถูกต้องและเป็นทิศทางเดียวกันและควรมีการประชุมร่วมกันอยู่เสมอ ควรใช้วิธีการสอนแบบผสมผสาน คือ การบรรยาย การสาธิต การปฏิบัติ ควรจัดเวลาในการสอนเสริมในหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจหรือยังปฏิบัติได้ไม่ดี ผู้สอนควรใช้เปียโนเป็นสื่อการสอนและมีสื่อการสอนเพิ่มเติม เช่น สื่อทางเทคโนโลยี และควรมอบหมายการบ้านให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ การวัดผลควรแบ่งสัดส่วนของคะแนนชัดเจน
References
จารุวรรณ สุริยวรรณ์. (2549). แนวทางการสอนดนตรี. ปทุมธานี : โรงพิมพ์ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
นิอร เตรัตนชัย. (2562). การศึกษาการสอนโสตทักษะตามแนว สุดา พนมยงค์. วารสารมนุษยศาสตร์ วิชาการ, 26(1).
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้นโดยใช้วิธีการของโคดาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรม
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิมลรัตน์ วิมลรัตนกุล. (2547). การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถทางการขับร้องของครู ปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กวัยอนุบาลโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทาง
ดนตรีของโคดาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย อมะรักษ์. (2529). ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น. กาญจนบุรี : สหวิทยาลัยทวารวดี กาญจนบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล