คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1

ผู้แต่ง

  • วัชระ - จตุพร วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ผู้บริหารมืออาชีพ, คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ, แรงจูงใจ, แรงจูงใจในการทำงานของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานครูในโรงเรียน และเพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อแรงจูงในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 1,093 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และค่าถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมในการเป็นผู้บริหาร 2) ริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้าน 3) มีทักษะในการวินิจฉัยสั่งการ 4) มีวิสัยทัศน์สามารถกำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์อย่างเหมาะสม 5) เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา 6) มีความรู้ทางวิชาการบริหารศาสตร์ และ 7) ใช้ระบบคุณธรรม จริยธรรม ในการพิจารณาผลงาน 2. แรงจูงใจในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก ได้แก่ 1) ความสำเร็จในการทำงาน 2) ความรับผิดชอบ 3) ลักษณะของงาน 4) การได้รับการยอมรับนับถือ และ 5) ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน และ 3. คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อแรงจูงในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการทำงานของครูโดยรวมได้ร้อยละ 45.3 มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) มีความรู้ทางวิชาการบริหารศาสตร์ 2) มีทักษะในการวินิจฉัยสั่งการ และ 3) มีวิสัยทัศน์ สามารถกำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์อย่างเหมาะสม โดยได้สมการพยากรณ์คะแนนดิบและสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

   Y^ = 2.032 + 0.355(X4) + 0.331(X7) -0.188(X6)

   Z^ = 0.470Zx4 + 0.507Zx7 – 0.278Zx6

References

กิตติภัช กนกธาดาสกุล. (2546). การศึกษาลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ ตามทัศนะของผู้บริหารและครูในโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
ชนันดา โตใหญ่ดี. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับ
แรงจูงใจในการทำงาน ของครู กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ระยองเขต 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559, มกราคม-มิถุนายน). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสาร
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1).
นฤชยา นนท์ยะโส. (2556). คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 (วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ผกามาศ สมัครการ. (2554). แรงจูงใจในการทำงานของครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย 40(2) สำนักงานเขต
หนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี:
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศุภลักษณ์ ตรีสุวรรณ. (2548). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาสมุทรสงคราม (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.
อรพรรณ ตู้จินดา. (2544). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของครูโรงเรียน
ประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Herzberg, F. B. (1999). The Motivation-hugiene theory. New York: Penquin Book.
Naile I. & Selesho M. J., (2014). The Role of Leadership in Employee Motivation. Journal of
Social Sciences, 5(3), 175-176.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29