The actual and expected role of the advisors as perceived by the undergraduate students of Mahidol University International College in the academic year 2019
คำสำคัญ:
บทบาทที่เป็นจริง, บทบาทที่คาดหวัง, อาจารย์ที่ปรึกษาบทคัดย่อ
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2562 บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาประกอบด้วยด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านวิธีการให้คำปรึกษา ด้านบุคลิกภาพ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา และด้านการพัฒนานักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังศึกษาทุกชั้นปี ที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 427 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทที่ได้ปฏิบัติจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา และส่วนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาและความคาดหวังในด้านบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาที่นักศึกษาคาดหวังไว้ในอนาคต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า บทบาทเป็นจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา ผลที่ได้ทั้ง 5 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาทที่อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริงทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านวิชาการ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา และด้านวิธีการให้คำปรึกษา
สำหรับบทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนานักศึกษา และด้านวิธีการให้คำปรึกษา
เมื่อเปรียบเทียบบทบาทที่ได้ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริงตามการรับรู้ของนักศึกษาโดยรวม พบว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาจากภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นในด้านบุคลิกภาพ นักศึกษามีความคาดหวังจากอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับมาก
สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษา พบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาควรเป็นอาจารย์ที่สอนในสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียนอยู่เท่านั้น อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ควรรับผิดชอบดูแลนักศึกษาไม่เกิน 20 คนต่อกลุ่ม และรับผิดชอบตลอดหลักสูตรจนจบการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาควรพบนักศึกษาทั้งกลุ่มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน และเมื่อนักศึกษาต้องการรับคำปรึกษาควรทำการนัดหมายก่อนเข้าพบอาจารย์ตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้
References
Case study of Chiang Mai University. Chiengmai: Faculty of Education. Chiengmai
University.
Chulalongkorn University. (2000). Chor Tor.95 Advisors’ Manual. Bangkok: Chulalongkorn
University
Department of Physical Education. (1990). The role of advisors according to the expectations
of students of Physical Education College. Chiengmai: Academic Department, Physical Education College, Chiang Mai (Copied documents).
Jaras Suwanwela. (1990). Invoke the advisors in the university to create quality for Thai
intellectuals. Wattachak Education. 12(17); 7.
La-or Chutikorn. (1977) The role of advisors in Teacher Colleges in Bangkok. Thesis
Master of Education, Faculty of Graduate Studies, Chulalongkorn University.
Niran Jullasap. (2000). The study of the roles and duties of undergraduate academic
advisors in Thaksin University. Songkhla: Thaksin University
Pranee Hasan. (1999). The performance according to the actual role and expected role of
the advisor in the view of the students of the Faculty of Agriculture Chiang Mai
University. Independent research Master of Education, Faculty of Graduate Studies, Chiang Mai University
Prayad Saiwichien. (2016). Opinions and expectations of students towards the role of
advisors Faculty of Education Chiang Mai University. (Research Report). Chiengmai: Faculty of Education Chiengmai University.
Samnao Kajornsilp. (1986). Seminar report of the advisors of private higher education
institutions. Bangkok: Ministry of University Affairs.
_____. (1986). Development of the undergraduate academic advisor system at the
university. Bangkok: Kasetsart University
_____. (1990). Advisor system. Project on creating academic documents for higher quality
education. Bangkok: Ministry of University Affairs.
_____. (1994). New dimension of student affairs 1: Basic and student services. Bangkok:
Kasembundit University.
Somyos Phankasikorn. (1999). The performance according to the actual role and expected
role of the advisor in the view of Lampang Technical College students. Independent
Research Master of Education, Faculty of Graduate Studies, Chiang Mai University.
Student Development Department, Student Affairs and Community Relations Unit. (1998).
Consultation Method. (Copied documents).
Sujarit Pienchop. (1978). Bright Way Consultant: Comprehensive knowledge about
curriculum and the teaching at the secondary level. Bangkok: Department of Education Education Research Division
Sujarit Pienchop and Worasak Pienchop. (1980). Research report Counseling condition for
students in Chulalongkorn University. Bangkok: Academic Department, Chulalongkorn University.
Supaphan Koatjamras. (1979). Students and the adaptation in the university. Documents
on the workshop about the roles and responsibilities of the advisors towards the
students. Faculty Development Unit. Chulalongkorn University.
Vipada Kuptanond. (1991). A comparative study of the expected roles and actual roles of
the instructors according to the perceptions of Southeast Asian University students. Bangkok: Southeast Asian University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล