การใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปรายส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย การเขียนเชิงสร้างสรรค์ และความคิด วิจารณญาณ : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์ การอ่าน การเขียนเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาไทยและการเขียน
ภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลังการเรียนในแต่ละแผนการสอน และเปรียบเทียบความคิดวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย ประชากรเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย จำนวน 3 แผน แผนละ 1 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแบบวัดความคิดวิจารณญาณ การทดลองดำเนินการโดยการทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย การทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี หลังการเรียนในแต่ละแผนการสอน และการวัดความคิดวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีความสามารถในการอ่านภาษาไทย หลังการเรียนโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปถึงร้อยละ 84.25 อยู่ในระดับดี 2. นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ หลังการเรียนโดย การใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปถึงร้อยละ 83.68 อยู่ในระดับดีมาก 3. มีความคิดวิจารณญาณสูงขึ้น หลังการเรียนโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย
คำสำคัญ : ภาพยนตร์ การอ่าน การเขียนเชิงสร้างสรรค์
References
กาญจนา วิชญาปกรณ์, 2534, เอกสารประกอบการสอนการอ่าน, พิษณุโลก :คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กรรณิการ์ พวงเกษม, 2534, การสอนเขียนเรื่องโดยใช้จินตนาการทางสร้างสรรค์ในระดับ
ประถมศึกษา, พิมพ์ครั้ง ที่ 3, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ฉัตรา บุนนาค, สุวรรณี อุดมผล และวรรณี พุทธเจริญทอง, 2530, ศิลปะการใช้ภาษาไทย
ในชีวิตประจำวันและทางธุรกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : ประกายพรึก
ชนะ เวชกุล, 2524, การเขียนสร้างสรรค์, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
บันลือ พฤกษะวัน, 2533, พัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์, กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช
เอกศักดิ์ ยุกตะนันท์, 2544-2545, ความคิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ในฐานะคุณธรรมนำทาง
ปัญญา และพลังผลักดันพัฒนาการทางวัฒนธรรม, วารสารมหาวิทยาลัย
ศิลปากร, ปีที่ 21-22(3),11-12.
อัจฉรา ธรรมาภรณ์ และปราณี ทองคำ, 2543, การพัฒนาชุดกิจกรรมการแก้ปัญหาในวิชา
วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยม
ศึกษาตอนต้น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับ
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ปีที่ 6 (1),65-78.
Mayfield. Marlys. 1991, Thinking for yourself : Developing critical thinking skills
through writing. (2 nd ed.). California : Wadsworth Publishing.
Wititch.Wallter A and Schuller, Charles F. (1967). Audiovisual materials : Their nature
and use. New York : Happer & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิระวัลย์ ดีเลิศ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล