Guideline to Enhancement of Participation Learning for Homeless Protection of Social Development and Human Security Volunteers in 21st century

ผู้แต่ง

  • ภาคภูมิ ภูมิ มณีโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

บทคัดย่อ

                        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพ และความต้องการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21  2. เสนอแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จำนวน 332 คน โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ อพม.และการคุ้มครอง   คนไร้ที่พึ่ง ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับน้อย โดย 3 อันดับแรก ได้แก่  การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีงานทำ การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีที่พักอาศัย และการเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ และมีความต้องการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  อยู่ในระดับมาก โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีที่พักอาศัย การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีงานทำ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  2.แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21  มีองค์ประกอบ ได้แก่  (1) ชุมชนเป็นฐาน (อพม.)  (2) มีความพร้อมในการเรียนรู้ (3) สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (4) เสริมพลังทางความคิด (5) ใช้ประสบการณ์ (6) เรียนรู้เป็น กลุ่ม/ทีม  และมีขั้นตอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ดังนี้  (1) การแลกเปลี่ยนความคิด  (2) การปฏิบัติการ (3) การรับประโยชน์และคุณค่า และ  4) การประเมินผล          

คำสำคัญ : การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์         

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29