ผลการใช้โปรแกรมสำหรับตรวจนับหนังสือในห้องสมุดต่อประสิทธิภาพการทำงานในห้องสมุด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • พลอยชนกภรณ์ เพิ่มแสงสุวรรณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สำรวจหนังสือ, ห้องสมุด, โปรแกรม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลา และปริมาณกระดาษที่ใช้ ในการสำรวจหนังสือ ระหว่างการใช้และไม่ใช้โปรแกรมการตรวจหนังสือ 2) เพื่อศึกษาความถูกต้องของข้อมูลสำรวจหนังสือเมื่อใช้หรือไม่ใช้โปรแกรมการตรวจนับหนังสือ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการตรวจนับหนังสือ ณ ห้องสมุดคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 20 คน มีช่วงอายุตั้ง 18 ถึง 30 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 80 และเพศชายร้อยละ 20 ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนถูกสุ่มเลือกให้สำรวจทั้งสองโปรแกรมและตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (paired t-test) การทดสอบไคสแควร (chi-square test) และการวิเคราะห์เชิงพรรณนาของข้อมูลในแบบสอบถาม และกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ (p) เท่ากับ 0.05

     ผลการศึกษา พบว่าด้านเวลาการใช้โปรแกรมและไม่ใช้โปรแรกมในการสำรวจหนังสือนั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ของการจัดเตรียมข้อมูล การจัดเตรียมเอกสาร และสรุปผลการสำรวจ  แต่ในการสำรวจหนังสือบนชั้น พบว่าเวลาการสำรวจหนังสือโดยใช้โปรแกรมจะน้อยกว่าการไม่ใช้โปรแกรม 6.42 วินาทีต่อเล่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04)  และด้านการใช้ทรัพยากรกระดาษ การใช้โปรแกรมสำรวจหนังสือจะไม่ใช้กระดาษ ในขณะที่การไม่ใช้โปรแกรมสำรวจหนังสือใช้กระดาษจำนวน 3 แผ่น ด้านความถูกต้องของข้อมูลในการสำรวจหนังสือพบว่าการใช้โปรแกรมในการสำรวจหนังสือมีความถูกต้องของข้อมูล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยกเว้นการตรวจความถูกต้องของหนังสือชำรุด ไม่ใช้โปรแกรมมีความถูกต้องมากกว่าการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และพบระดับความพึงพอใจมากที่สุดในทุกด้านของผู้ที่ใช้โปรแกรมการสำรวจหนังสือ การศึกษานี้สรุปได้ว่าโปรแกรมการสำรวจหนังสือสามารถช่วยลดเวลา ทรัพยากรกระดาษ และมีความถูกต้องของการตรวจเลขหนังสือและพบเล่มหนังสือ

References

เบญจา รุ่งเรืองศิลป์. (2551). เรียนรู้และแบ่งปัน: ประสบการณ์จากการสำรวจหนังสือในห้องสมุด. วิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 19(2): 47-54.
เปลี่ยนความรู้ฝังแน่นเป็นความรู้สู่สาธารณะ, (2553). สำรวจหนังสือด้วยเครื่อง Pocket PC Program ILS Inventory (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.lib.kmitl.ac.th/blogCL/?p=1367 [6 กุมภาพันธ์ 2562]
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2558). โครงการระบุหนังสือด้วยคลื่นวิทยุ. สืบค้นจาก http://arit.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2015/09/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B8.pdf
ณัฐพงษ์ กิตติสาทร. (2554). ประสิทธิภาพการใช้โปรแกรมนาวิชั่นของ บริษัท ฮอทพอท จำกัด (มหาชน). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธญบุรี, ประทุมธานี.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย Statistics for Health Science Research. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-04