การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน

ผู้แต่ง

  • ษมาพร รักจรรยาบรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศิริณา จิตต์จรัส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, การรู้เท่าทันสุขภาพ, ผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ความต้องการ และปัญหาการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพ ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่ทำงานในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน และ 3) ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพ ความต้องการ และปัญหาการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน คือ 1) ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 219 คน โดยใช้แบบสอบถาม และ 2) สัมภาษณ์ผู้บริหาร และผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในองค์กรต้นแบบด้านผู้สูงอายุ คือ บริษัทเบญจมิตรบรรจุภัณฑ์ จำกัด ส่วนกลุ่มทดลอง คือ ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 14 คน

       ผลการวิจัย พบว่า สภาพการรู้เท่าทันสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 3.60, S.D. = 0.33) ส่วนความต้องการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน ประกอบไปด้วย 5 ด้าน ได้แก่  1) ด้านทักษะวัฒนธรรม แบบแผนการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ 2) ด้านการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค 3) ด้านการรู้เท่าทันสื่อและการใช้เทคโนโลยี 4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว องค์กรที่สนับสนุนดูแลสุขภาพ และ 5) ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพ ชุดกิจกรรม Good fine สบายดี : 5 วิธีสุขภาพดี สมวัย ประกอบด้วย 1) กิจกรรมพฤติกรรมดี ชีวีมีสุข 2) กิจกรรมดูแลดี ป้องกันโรค 3) กิจกรรมเข้าถึง รู้ได้ ใช้เป็น 4) กิจกรรมแข็งแรงไปด้วยกัน และ 5) กิจกรรมแนวทางดี พี่ทำตลอด ผลการทดลอง พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทดลองมีคะแนนทดสอบสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีระดับความพึงพอใจต่อการร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (X = 3.92, S.D. = 0.37)

Author Biography

ศิริณา จิตต์จรัส, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

บรรลุ ศิริพานิช. (2553). คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ และสุภาพรรณ น้อยอำแพง. (2551). เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน: คัมภีร์ กศน เรื่องวิทยาผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561. เข้าถึง
ได้จาก http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/ 20/14_61_70 .pdf.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. นนทบุรี: เอสเอส พลัส มีเดีย.
วรรณศิริ นิลเนตร. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2556. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561. เข้าถึงได้จาก http://social.nesdb.go.th/
social/Portal.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สรุปผลที่สำคัญ การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กทม. : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Gazmararin JA, Baker DW, Wikkuams MV, Parker RM, Scott TL, Green DC, Fehrenbach SN, Ren J, & Koplan JP. (1999). Health literacy among medicare enrollees in a
managed care organizarion. JAMA, 281(6), 545-51.
Knowles, M. (1984). Andragogy in action. San Francisco: Jossey-Bass.
WHO. (1998). Health Promotion Glossar. Geneva: WHO Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01