การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ธีรังกูร วรบำรุงกุล ษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • สายฝน ทรงเสี่ยงไชย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นันทพร ชื่นสุพันธรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ทักษะการคิด, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นักศึกษาครู

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู                   มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อรูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถามและแนวการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผ่านการตรวจคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แล้วนำไป Try-out กับกลุ่มประชากรที่มิใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน จากนั้นนำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และนำมาวิเคราะห์ ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูประกอบด้วย 1) การระบุปัญหาหรือเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น 2) การใช้กระบวนการคิด 3) การพิจารณา กลั่นกรอง ไตร่ตรองและประเมินผล และ 4) การสรุปผลการคิด การทดสอบสมมุติฐานพบว่า เพศ อายุ และความรู้ ไม่มีผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แต่สาขาวิชาเอกและเกรดเฉลี่ยมีผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษาครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณในเชิงบวก

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). การคิดเชิงวิพากษ์. ซัสเซสมีเดีย, กรุงเทพฯ.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2541). การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). จาก http://www.m-culture.go.th/ilovethaiculture/index.php/2013-07-01
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์.
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ. (2545). ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ = Critical Thinking. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช สำราญราษฎร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). รายงานการวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านทักษะการคิดระดับสูง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์...การสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
Brookfield, Stephen, D. (1991). Developing Critical Thinkers. Oxford: Jossey-Bass.
Carter, V.G. (1989). Dictionary of Education. McGraw Hill, New York.
Ernest, R.H. (1962). Introduction to Psycology. Harcourt Brace and World, New York.
Feldman, R.S. (1993). Understanding psychology. International Edison. McGraw-Hill.
Harris, A.J., & Sipay, E.R. (1990). How to increase reading ability: A guide to development & Remedial methods. New York: Longman.
Milheim, W.D. and Harvey, D.M. (1998). Design and Development of a World Wild Web Resource Site. Educational Technology. 38(1), January-February 1998: 53-56.
Monroe, B.S. (1985). “An Analysis of Critical Thinking Skills of College Freshman From Three Divergent High School Backgrounds.” Ph.D. dissertation, Miami University.
Quellmallz, E.S. (1985). Needed Better Method for Testing Higher oder Thinking Skill. Educational Leadership, 2(26), 29-34.
Watson, G. and Glasser, E.M. (1980). Watson-Glasser Critical Thinking Appraial Manual: From Ym and Zm. New York. Harcourt Brace and World, Inc.
Woodcock, M., & Francis, D. (1994). Teambuilding Strategy. Hampshire. Gower Publishing Company Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30