มาตรการสกัดกั้นเครือข่ายการค้ายาบ้าในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • สังเวียน อินตากูล, ชาติชาย มหาคีตะ, อาภาศิริ สุวรรณานนท์ หลักสูตรปรัชญาษดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

มาตรการสกัดกั้น, การค้ายาบ้า, ภาคเหนือตอนบน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง มาตรการสกัดกั้นเครือข่ายการค้ายาบ้าในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และมาตรการการค้ายาบ้าในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและเพื่อให้ได้รูปแบบมาตรการสกัดกั้นเครือข่ายการค้ายาบ้าที่มีประสิทธิภาพ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 50 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดรวมทั้งสิ้น 374 คน

ผลการวิจัยพบว่ามาตรการสกัดกั้นเครือข่ายการค้ายาบ้าในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่มีประสิทธิภาพได้แก่ มาตรการสร้างความเป็นมืออาชีพของเจ้าหน้าที่มาตรการสร้างความสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชุมชนมาตรการสร้างการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมาตรการสร้างการใช้ระบบสื่อสารเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรการสร้างความมีประสบการณ์การทำงาน มาตรการสร้างความต่อเนื่องในการทำงาน มาตรการสร้างการจัดสัมมนาฝึกอบรมความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มาตรการสร้างการค้นหาหลักฐานให้ถึงต้นทางของสาเหตุและมาตรการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ

References

ปกรณ์ ไพรอังกูร. (2554)มาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ. วารสารการพัฒนาสังคม
พรชัย ขันตี.(2558)ทฤษฎีอาชญาวิทยา : หลักการ งานวิจัยและนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ :ส.เจริญการพิมพ์.
มานพ เนียรภาค ( 2556)ประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
รัฐการ ศรีศกุน(2560)การลักลอบลำเลียงขนส่งยาเสพติดผ่านทางไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์.วารสารสำนักงานป,ป.ส. ปี่ที่ 33 ฉบับที่ 3 (มิถุนายน-กันยายน 2560).บริษัทออนป้า จำกัด
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2553.). ความรู้และแนวทางการป้องกันและปราบปรามแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด,
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(2557).คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 41/2557 เรื่องการปราบปรามและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติด. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สุนทรีพรรณ กำปั่นทอง. (2551)ปัญหาและอุปสรรคในการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธร จังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Beccaria ,Cesare(1963) On Crimes and Punishment, translated by Henry Paolucci, Indianapolis: Bobbs-Merrill Educational Publishing.
Chee-Yee Chong and Martin Liggins(1994)Fusion Technologies for Drug Interdiction. Paper presenting in IEEE International Conference.
Lyman and Potter (2007) Organized Crime. Pearson/Prentice Hall Master,
Senna, Jonseph J. and Larry J.Siegel (1999). Introduction to Criminal Justice (8th ed.). New York :West Publishing Company.
Vold,George B.and Thomas J.Bernard. (1986).Theoretical Criminology.New York:Oxford University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30