คุณภาพชีวิตชาวนาไทย ศึกษากรณีจังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตชาวนา, ข้าว, การพัฒนาอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตชาวนาในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของชาวนาไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี
วิธีดำเนินการวิจัยในเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยรูปแบบการวิจัยเป็นแบบกรณีศึกษา ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ชาวนาที่เป็นผู้นำชุมชน หรือปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจเอกชน และนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 27 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ชาวนาในจังหวัดสุพรรณบุรีส่วนใหญ่ ยังขาดการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ข้อมูลข่าวสาร ประชาสังคม และครอบครัว รวมถึงสวัสดิการและความมั่นคงของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องหนี้สิน ต้นทุนการผลิตสูง นิยมจ้างแรงงาน เสียค่าเช่านา และการใช้สารเคมีในปริมาณมาก 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ได้แก่ (1) การกำหนดเขตพื้นที่การเพาะปลูก เพื่อไม่ให้ข้าวออกสู่ตลาดพร้อมกัน (2) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรให้มีความหลากหลาย ทันสมัย และเหมาะสมต่อบริบทของพื้นที่ (3) บูรณาการเครือข่ายความร่วมมือหลากหลายภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหา และจัดการทั้งกระบวนการ รวมถึง (4) สนับสนุนให้ชุมชนรวมกลุ่มในรูปวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเองอย่างยั่งยืน
References
2559/15092559.pdf,)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2545). การพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยพื้นที่สูงด้วยวิธี สหกรณ์. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์. (2527). ประชากรศึกษา. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.
นิพนธ์ พัวพงศกร และจิตรกร จารุพงษ์. (2553). โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อ ป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับ จำนำข้าวเปลือก. รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ,ม.ป.ท.
เนาวรัตน์ พลายน้อย, อมรา พงศาพิชญ์, ศิริเชษฐ์ สังขะมาน และกอลกุล สามัคคี. (2546). การสร้างและ พัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิศารัตน์ ศิลปเดช (2539). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : อักษรสาสน์.
ปิ่นสะอาด สหนาวิน. (2553). คุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ผู้จัดการรายวัน. (2560). ดราม่า น้ำตาริน ชีวิตชาวนาไทย vs ชาวนาโลก, 8 พฤษภาคม 2560. https://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx ?NewsID=9590000110 593.
มูลนิธิชีวิตไท. (2560). ความสุขและความทุกข์ของชาวนา, 8 พฤษภาคม 2560. https://www.landactionthai.org/land/index.php/content/kwan/1429.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2559). เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2553). วิถีชีวิตชาวนาภาคกลาง โจทย์ใหม่ภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี : สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง.
สุพัดชา โอทาศรี. (2554). การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย : กรณีศึกษาชาวนาจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
สุพรรณี ไชยอำพร และสนิท สมัครการ. (2534). คุณภาพชีวิตของคนไทย: ศึกษาเปรียบเทียบ
ระหว่างชาวเมืองกับชาวชนบท. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย.
สมพร อิศวิลานนท์ และศานิต เก้าเอี้ยน. (2552). ความเป็นพลวัตของเศรษฐกิจการผลิตของข้าวไทยและ การมองไปข้างหน้า. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกุล. (2554). ดัชนีชี้วัดความสุขของประชาชนชาวไทย. ขอนแก่น :
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Campbell, D.T. (1972). Experimental and quasi-experimental designs for research. Boston : Houghton Mifflin.
Kondo, A. (1985). Effects of urinary in continence on quality of life. International Urogynecology Journal. 3, 121-125.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล