อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต
คำสำคัญ:
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์, อินเทอร์เน็ต, แผนประทุษกรรมบทคัดย่อ
ภัยจากอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตในสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ภัยจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ การหลอกลวงให้โอนเงินในรูปแบบต่างๆ การโจรกรรมข้อมูล การเจาะระบบและการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ข้อมูล ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแผนประทุษกรรมของคนร้ายคดีอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต (2) ศึกษาแนวทางการสืบสวนจับกุมคนร้ายคดีอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต (3) ศึกษาแนวทางการระวังป้องกันอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดี ที่ทำสำนวนคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 25 คน
ผลการศึกษาพบว่า (1) แผนประทุษกรรมคดีอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต คนร้ายมีทักษะความชำนาญทางคอมพิวเตอร์ ทักษะการเรียนรู้จุดอ่อนของเหยื่อทำให้เหยื่อหลงเชื่อและให้ข้อมูล ขั้นตอนการหลอกลวงเพื่อเอาข้อมูลส่วนตัว เรียกว่า Social Engineering (2) แนวทางการสืบสวนคดีอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ประสบความสำเร็จเนื่องจากได้ข้อมูลการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ข้อมูลการเชื่อมต่อสื่อสารโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลการโอนเงิน ข้อมูลจากกล้องวงจรปิด โดยได้รับความร่วมมือการสืบสวนทั้งระหว่างหน่วยงานและระหว่างประเทศ การตรวจพิสูจน์วัตถุพยานทางดิจิทัล ตามหลักการห่วงโซ่การคุ้มครองพยานหลักฐาน (Chain of custody) (3) แนวทางการระวังป้องกันอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน การสร้างความตระหนักถึงภัยที่อาจเกิดขึ้น การเฝ้าระวังการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ การจัดทำแผนบริหารการจัดการความเสี่ยงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การโจมตีให้กับบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน
References
กองปราบปราม กองบัญชาการสอบสวนกลาง. (2555). การบริหารงานสืบสวน. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561 , จาก http://www.csd.go.th/dimensions_csd/4dimensions-2.pdf
สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ. (2558). การจำลองภาพอาชญากรรมเพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ในแนวทางด้านนิติวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ. (2560). แผนประทุษกรรมกับลายเซ็นอาชญากรรมของคนร้าย : ความเหมือนที่แตกต่าง. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT). (2560). สถิติภัยคุกคาม.สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561, จาก https://www.thaicert.or.th/statistics/statistics.html
ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT). (2556). Digital Forensics 101 ตอนที่ 1 .สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561, จาก https://www.thaicert.or.th/papers/general/2013/pa2013ge012.html
ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT). (2556).
Digital Forensics 101 ตอนที่ 2. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561, จาก https://www.thaicert.or.th/papers/general/2013/pa2013ge014.html
ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT). (2560).
ระวังภัย มัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCry สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561, จาก
https://www.thaicert.or.th/alerts/user/2017/al2017us001.html#1
Chris Kim.(2012). Computer Crimes. American Criminal Law Review Volume:49 Issue:2
MGROnline.(2560). ไซแมนเทคเปิดเผยรายงานภัยคุกคามด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต.
สืบค้นเมื่อ 4 พ.ค.2560, จาก https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000045059
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล