PC’s 3Cs (Content, Complexity, & Control) - A Writing Rubric
คำสำคัญ:
essay assessment, analytic/holistic rubrics, , inter-rater reliabilityบทคัดย่อ
เป้าหมายประการหนึ่งของหลักสูตรด้านภาษาโดยทั่วไปคือ ผู้เรียนต้องสามารถเขียนเรียงความที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้เขียนในการสร้าง จัดระเบียบและประกอบความคิดเป็นรูปเป็นร่างผ่านการเลือกใช้คำที่มีความหมายถูกต้องแม่นยำและละเอียดลออ วิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ตลอดจนใช้ประเมินผลการเรียน ซึ่งเป็นหัวข้อของงานวิจัยฉบับนี้คือ การใช้เครื่องมือการให้คะแนนแบบ Grading Rubric ในกรณีที่เป็นการให้คะแนนโดยไม่ใช้เครื่องมือ Rubric ผู้เรียนจะถูกประเมินแบบองค์รวมตามหลักเกณฑ์และความคิดเห็นของผู้ประเมินเป็นหลัก ซึ่งมักทำให้ผลการประเมินโดยผู้ประเมินแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไปแม้ว่าเป็นการประเมินผู้เรียนที่อยู่ในระดับเดียวกันก็ตาม หรือเรียกกันว่า ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินต่ำ (poor inter-rater reliability) นอกจากนี้ ผลการประเมินยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ผู้เรียนมีความสามารถเพียงใด หรือที่สำคัญกว่านั้นคือ ผู้เรียนมีจุดอ่อนเรื่องใดที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข แต่ในทางตรงกันข้าม การใช้เครื่องมือ Rubric ที่มีความซับซ้อนเกินไป อาจส่งผลให้ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินต่ำได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าข้อชี้แนะที่ได้จากการประเมินว่าผู้เรียนแต่ละรายควรพัฒนาในด้านใด อาจมีประโยชน์มากกว่ากรณีแรก งานวิจัยฉบับนี้จะกล่าวถึงเครื่องมือการให้คะแนนโดยใช้ Grading Rubric แบบใหม่โดยอิงเกณฑ์สามประการคือ เนื้อหา (content) ความละเอียด (complexity) และการควบคุม (control) เครื่องมือ Rubric ชนิดใหม่นี้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มระดับความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินและช่วยให้การให้คะแนนทำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังง่ายต่อการเข้าใจ และในด้านของผู้เรียน เครื่องมือใหม่นี้จะเป็นเครื่องมือการสอนที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเนื่องจากเครื่องมือจะบอกให้ผู้เรียนทราบเป้าหมายการเรียนที่ชัดเจนขึ้น และทักษะด้านใดที่ผู้เรียนจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข ประโยชน์ประการสุดท้ายคือ เครื่องมือนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่มีความละเอียดซับซ้อนมากขึ้น แทนการเลือกใช้แต่คำศัพท์พื้นฐานง่ายๆ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ เครื่องมือ Rubric แบบใหม่นี้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง และสามารถนำมาปรับใช้เป็นเครื่องมือการเรียนการสอนและเครื่องมือประเมินความสามารถด้านภาษาอังกฤษในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
References
Andrade, H. G. (2000). Using rubrics to promote thinking and learning. Educational Leadership 57 (5): 13–18.
ASEAN Secretariat (2014). ASEAN Economic Community. asean.org. Retrieved from http://www.asean.org/communities/asean-economic-community
Black, P., and Wiliam, D. (1998). Inside the black box: Raising standards through classroom assessment. Phi Delta Kappan 80 (2): 139–48.
Broad, B. (2003). What we really value: Beyond rubrics in teaching and assessing writing.
Capannelli, G. (2013). Key Issues of Labor Mobility in ASEAN. Presentation at The 3rd ADBI-OECDILO Roundtable on Labour Migration in Asia: Assessing Labour Market Requirements for Foreign Workers and Developing Policies for Regional Skills Mobility. Bangkok, Thailand.
Center for International Trade Studies, (2012), University of the Thai Chamber of Commerce, Thai Skilled Labor and the AEC. An Analysis of the Competitive Potential of Skilled Labor in the Service Sector Free Opening under the ASEAN Economic Community (AEC). Thailand Economic & Business Review. Retrieved February 4, 2015, from http://department.utcc.ac.th/asc/pdf/eng4_3.pdf
Diederich, P. B., French, J. W., & Carlton, S. T. (1961). Factors in judgments of writing ability. ETS Research Bulletin Series, 1961(2), i-93.
EF English Proficiency Index (2014), EF Education First. ef.co.uk. Retrieved Jan 31, 2015 from http://www.ef.co.uk/epi/
Hallinger, P., & Lee, M. (2013). Exploring principal capacity to lead reform of teaching and learning quality in Thailand. International Journal of Educational Development, 33(4), 305-315.
Jonsson, A., & Svingby, G. (2007). The use of scoring rubrics: Reliability, validity and educational consequences. Educational research review, 2(2), 130-144.
Lefevre, A. (2014). Thai junta boosts spending on defense, education in draft budget. Reuters. Retrieved February 8, 2015, from http://www.reuters.com/article/2014/08/18/us-thailand-budget-idUSKBN0GI0MG20140818
Maxwell, D. (2014). 28 weeks later: Education reform in Thailand under the junta. Asian Correspondent. Retrieved February 12, 2015, from http://asiancorrespondent.com/128438/28-weeks-later-education-reform-in-thailand-under-the-junta
Pasadilla, G. O. (2011). Social security and labor migration in ASEAN. ADBI Research Policy Brief, 34.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล