การวิเคราะห์ความเชื่อที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
ความเชื่อที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม, บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล, พุทธปรัชญาเถรวาทบทคัดย่อ
การศึกษางานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความเชื่อที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความเชื่อที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาหลักความเชื่อตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อเสนอแนวทางความเชื่อ
ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 443 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติถดถอยเชิงพหุ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
ความเชื่อตามแนวคิดของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท แบ่งออกเป็น
4 ประเภท 1) ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญปล่อยชีวิตสัตว์ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความเชื่อปานกลาง 2) ด้านความเชื่อเกี่ยวกับประเพณี มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความเชื่อปานกลาง 3) ด้านความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความเชื่อน้อย 4) ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการล่าและบริโภคเนื้อสัตว์ป่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความเชื่อน้อยที่สุด
ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีจำนวน 1 ระดับ ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับการล่าและบริโภคเนื้อสัตว์ป่า
ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีจำนวน 2 ระดับ ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับการล่าและบริโภคเนื้อสัตว์ป่า และความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง
แนวทางความเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีความคิดเห็นต่อความเชื่อในระดับ ปานกลางถึงน้อยที่สุดและเห็นว่าความเชื่อเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นดังข้อคิดเห็นที่บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลได้แสดงไว้ในคำถามปลายเปิดเช่น การปล่อยสัตว์ต่างๆ จะทำให้ได้บุญเป็นการเสริมบารมี แต่ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะตามมาด้วยเนื่องจากสัตว์ต่างๆที่นำไปปล่อยนั้นอาจไม่คุ้นเคยกับบริเวณที่นำไปปล่อยอาจทำให้เกิดผลเสียมากว่าผลดีและอาจทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเห็นสอดคล้องกับหลักศรัทธาในพุทธปรัชญาเถรวาทที่เห็นว่าความเชื่อเหล่านี้เป็นจลศรัทธา
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). ประเพณีลอยโคม. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561, สืบค้นจาก https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=371
กระปุก. (2560). เวทนา ... เจ้าเต่ากลืนเหรียญลงท้องสะสมเป็นก้อนเนื้อ จากความเชื่อของคน. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560, สืบค้นจาก https://hilight.kapook.com/view/149539
กระปุก. (มปป.). ไม้พะยูง.. ไม้มงคลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2560,
สืบค้นจาก https://hilight.kapook.com/view/83017
กลุ่มวิจัยอนุสัญญาไซเตสด้านพืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร. (2558). คู่มือการตรวจพิสูจน์เนื้อไม้พะยูง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วีแคนโซลูชั่น.
กองการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). ข้อมูลสถิติ. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561, สืบค้นจากhttps://mahidol.ac.th/th/fact-figures
โจอี ยับ (2552). ฮวงจุ้ยคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์. คำนำ, แปลจาก Feng Shui for Condominium & Apartment Buyers – Home Owners. แปลโดย อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์.
ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์. (2557). คติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารุกขเทวดาในสังคมไทยมีอิทธิพลมาจากศานาฮินดูหรือพุทธศาสนากันแน่. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11-18.
ชุลีพร สุสุวรรณ และ สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์, (2542). ขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย. หน้า 29-32, 65-67, และ 94. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
นณณ์ ผาณิตวงศ์. (2559). ปล่อยสัตว์ให้รอดและไม่กระทบต่อระบบนิเวศ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน
, สืบค้นจาก https://www.siamensis.org/article/40292
นิคม พุทธา และคณะ. (2551). โครงการสถานการณ์สัตว์ป่าไทย: การค้าขายสัตว์ป่า สวนสัตว์ และเขตอนุรักษ์: ปัญหา ทางออก และโจทย์วิจัย (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
บ้านจอมยุทธ. (2543). ความเชื่อก่อนการนับถือพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562, สืบค้นจาก
https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/thai_philosophy/08.html
ปัญญวัชร์ วัชรกาฬ. (2555). อิทธิพลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับชีวิตคนไทย. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2560, สืบค้นจาก https://punyawat63.blogspot.com/2012/12/blog-post.html
มหาวิยาลัยมหิดล. ม.มหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว อันดับ 1 ของประเทศไทยประจำปี 2018 UI Green Metric World University Ranking 2018. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฏาคม 2562, สืบค้นจาก https://mahidol.ac.th/th/2018/ui-green2018/
ม.อึ้งอรุณ. (2543). คู่มือการจัดวางสิ่งสิริมงคลตามหลักฮวงจุ้ย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้อยทอง.
วราภรณ์ ยอดชะลูด. (2560). มหัศจรรย์ป้ายชื่อจากไม้สักทอง. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2562, สืบค้นจากhttps://krid17574.wordpress.com/ถิ่นกำเนิดของไม้สัก/ประโยชน์ของไม้สัก
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2560). ปล่อยนก บุญหรือบาป. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561, สืบค้นจากhttps://thaipublica.org/2017/02/varakorn-198/
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. หน้า 142. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 26.
สำนักข่าวไทย. (2560). วันลอยกระทง. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561, สืบค้นจากhttps://www.mnre.go.th/uttaradit/th/news/detail/6425
อุดม เชยกีวงศ์. (2547). วิถีไทย. หนังสือประกอบการเรียน หมวดวิชาศึกษาทั่วไป : รหัสวิชา สศ 0210001. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991.
Admin. (2561). เปิบพิสดารเมนูอาหารสุดแปลก. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561, สืบค้นจาก
Sam ponsan. (2560). 7 ความเชื่อผิด ๆ ที่ควรเลิกเชื่อได้แล้ว. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561, สืบค้นจาก
https://www.mangozero.com/7-common-beliefs-you-probably-have-wrong
Suwachana. (2561). เปิบพิสดารสัตว์ป่า “คิดผิด คิดใหม่”. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561, สืบค้นจาก
Yamane Taro, (1973). อ้างถึงใน สุรพล กาญจนะจินตรา. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). หน้า 42. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล