การประเมินหลักสูตรโรงเรียนนายเรือ (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ.2558

ผู้แต่ง

  • สันติ งามเสริฐ โรงเรียนนายเรือ

คำสำคัญ:

รูปแบบการประเมินแบบซิป, หลักสูตรโรงเรียนนายเรือ, วิชาชีพทหารเรือ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินบริบทของหลักสูตร 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร 3) เพื่อประเมินกระบวนการของหลักสูตร และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหาร 2) อาจารย์ประจำหลักสูตร 3) อาจารย์ประจำ และ 4) นักเรียนนายเรือ (นนร.) เครื่องมือในการวิจัย จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสารหลักสูตร 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยโดยสรุป ดังนี้

  1. ผลการประเมินบริบทของหลักสูตร: วัตถุประสงค์หลักสูตรในภาพรวมมีความเหมาะสมดี จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรค่อนข้างมาก บางรายวิชามีเนื้อหาซ้ำซ้อนกัน การฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือ ยังไม่เพียงพอ และหลักสูตรการฝึกวิชาชีพทหารเรือยังไม่เป็นมาตรฐานสากล
  2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร: ปัจจัยนำเข้าของหลักสูตรในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก อาจารย์ประจำไม่เพียงพอและย้ายบรรจุบ่อยครั้ง แนวทางการส่งเสริมการผลิตผลงาน ทางวิชาการ และการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจารย์บางส่วนยังมีทักษะการสอนไม่ดี และอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอนบางส่วนชำรุด
  3. ผลการประเมินกระบวนการของหลักสูตร: กระบวนการของหลักสูตรในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก นนร.มีกิจกรรมจำนวนมาก เวลาเรียนของ นนร.ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะชั่วโมงการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
  4. แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ 4.1 ด้านหลักสูตรการศึกษา: เพิ่มการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือ ลดจำนวนหน่วยกิตในหลักสูตร ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัย และเทียบเคียงหลักสูตรการฝึกวิชาชีพทหารเรือให้เป็นมาตรฐานสากล 4.2 ด้านการเรียนการสอน: บริหารจัดการเวลาเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดกิจกรรมของ นนร. สร้างระบบและกลไกการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ 4.3 ด้านการบริหารครูอาจารย์: บรรจุอาจารย์ประจำให้เพียงพอ จัดกิจกรรมพัฒนา การเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และ 4.4 ด้านเทคโนโลยีการศึกษา: พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอ

References

กองทัพเรือ. (2560). นโยบายกองทัพเรือ ประจำปี 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2560, จาก https://bit.ly/2VczIjt

กระทวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนระยะยาวอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2565). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2559, จาก https://bit.ly/2Y4aUr5

กระทวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2559, จาก https://bit.ly/2vx0yDA

จรรยา ดาสา, ณสรรค์ ผลโภค, ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์ และสมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2553). การประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา (แผน ข) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิรภัทร เพ็ชรมงคล. (2555). การประเมินหลักสูตรวิชาวิทยาการทหาร. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนนายเรือ, กองสถิติและวิจัย. (2560). การติดตามและประเมินผลนายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ ปีการศึกษา 2556. อัดสำเนา.

โรงเรียนนายเรือ, ฝ่ายศึกษา. (2558). หลักสูตรโรงเรียนนายเรือ (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ.2558. อัดสำเนา.

โรงเรียนนายเรือ, ฝ่ายศึกษา. (2558). รายงานผลการประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการเรียน การสอนตามหลักสูตรการศึกษา โรงเรียนนายเรือ. อัดสำเนา.

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทรกษัตริยาธิราช. (2558). หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทร กษัตริยาธิราช (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ.2558. อัดสำเนา.

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. (2558). หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ.2558. อัดสำเนา.

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2561). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการศึกษาของกองทัพ ระดับปริญญาตรีขึ้นไป. อัดสำเนา.

สภาการศึกษาวิชาการทหาร. (2560). รายงาการประชุมสภาการศึกษาวิชาการทหาร ครั้งที่ 2/2560. อัดสำเนา.

สภาการศึกษาวิชาการทหาร. (2555). ข้อบังคับสภาการศึกษาวิชาการทหารว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของโรงเรียนทหาร พ.ศ.2555. อัดสำเนา.

สุภาพร ตรีนภา. (2554). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง พ.ศ.2552 คณะสถิติประยุกต์. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์, วิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ และ วิสูตร โพธิ์เงิน. (2556). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.

International Maritime Organization (IMO). (2010). IMO Model Courses. Retrieved from https://www.imo.org/en/OurWork/HumanElement/TrainingCertification/Pages/ModelCourses.aspx

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

White J. P. (2015). The Concept of Curriculum Evaluation. Journal of Curriculum Studies, 3(2), 101-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28