การสื่อสารทางการเมืองเบื้องหลังนักแสดงตัวเอก

ผู้แต่ง

  • เกียรติญา สายสนั่น คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง, การใช้อำนาจเพื่อจัดการภาพลักษณ์, นักแสดงตัวเอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารทางการเมืองเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของนักแสดงในวงการบันเทิงไทย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อำนาจเพื่อจัดการภาพลักษณ์ให้คงไว้ซึ่งความเป็นนักแสดงตัวเอกในวงการบันเทิงไทย โดยมุ่งศึกษานักแสดงผู้ให้ข้อมูลชายหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปจำนวน 15 คน ที่ยังคงสถานะความเป็นตัวเอกของละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศในช่วงเวลาหลังข่าว โดยเป็นการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลในช่วงระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2561 และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า 1) การสื่อสารทางการเมืองคือการสื่อสารภาพลักษณ์ของนักแสดงในรูปแบบหนึ่งเพื่อดำรงไว้ซึ่งความสำเร็จทางอาชีพ นักแสดงจึงควรให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองเป็นอย่างยิ่ง 2) อำนาจของนักแสดงอันเกิดจากผลงานที่ได้รับการยอมรับอย่างไม่มีข้อกังขา จะนำมาซึ่งบารมี และสร้างความโดดเด่นให้คงไว้ซึ่งความเป็นนักแสดงตัวเอกในวงการบันเทิงไทยตลอดไป

References

โพสท์ทูเดย์. (2561). “นาคี" ก็ต้องหลบ!! “บุพเพสันนิวาส” ขึ้นอันดับ 1 ละครเรตติ้งสูงสุดในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/ent/news/546074

จีรนันท์ มะโนแจ่ม. นักแสดงอิสระ. (13 ตุลาคม 2561). สัมภาษณ์.

ณัฐวุฒิ สะกิดใจ. นักแสดงสังกัดสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. (22 ตุลาคม 2561). สัมภาษณ์.

ธนา สุทธิกมล. นักแสดงอิสระ. (5 ตุลาคม 2561). สัมภาษณ์.

ธีรเดช วงศ์พัวพัน. นักแสดงอิสระ. (14 พฤศจิกายน 2561). สัมภาษณ์.

วนัชพร พงศ์ถาวรภิญโญ. (2557). การคัดเลือกนักแสดง: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโฆษณาและละครโทรทัศน์. (สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, กลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2549). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต และการบริหารภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ : สามลดา.

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. (2561). ดาราช่อง 3. สืบค้นจาก https://www.ch3thailand.com/ดาราช่อง3

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. (2561). ดาราช่อง 7 สี. สืบค้นจาก https://stars.ch7.com/actor.html

สหภาพ พ่อค้าทอง. (2555). การสร้างแบรนด์บุคคลของศิลปินดาราไทยสู่ความเป็นซุปเปอร์สตาร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุรบดินทร์ ภู่กลั่น. (2555). การบริหารจัดการศิลปินเพื่อสร้างมูลค่า กรณีศึกษา ณเดชน์ คูกิมิยะ. (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน.

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2560). การบริหารจัดการรายการโทรทัศน์ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนิเทศธุรกิจบัณฑิตย์, 11 (2), 209-246.

ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (2556). ปิดฉากประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่อง มูลค่ารวมสูง 50,862
ล้านบาท. สืบค้นจาก https://www.manager.co.th/cyberbiz/Viewnews.aspx?NewsID =9560000159130

Boorstin, D. J. (1962). The Image: A Guide to Pseudo-event in America. New York: Harper & Row.

Davis, A. (2013). Promotional Cultures: The Rise and Spread of Advertising, Public Relations, Marketing and Branding. New York: Polity press.

Denton, R. E. Jr., & Woodward, G.C. (1990). Political communication in America. New York: Praeger.

Gorton, K., & Garde-Hansen, J. (2012). From old media whore to new media roll: the online negotiation of Madonna’s ageing body. Retrieved from https://www.tandfonline. com/doi/abs/10.1080/14680777.2012.678370.

Lussier, R. N., & Achua, C.F.. (2001). Leadership Theory Application Skill Development. Ohio: South-Western College Publishing.

Nemer, D. (2016). Celebrities Acting up: A Speech Act Analysis in Tweets of Famous People. Retrieved from https://www.scirp.org/journal/PaperInformation.aspx? PaperID=62114.

Sassoon, A. S. (1982). Approaches to Gramsci. Writers & Readers Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28