การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบงานวิจัย สำหรับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • จีรวรรณ ทองสกล วิทยาลัยนานาชาติ

คำสำคัญ:

การประเมิน, ผลลัพธ์และผลกระทบ, งานวิจัย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ แนวทาง และวิธีการประเมินผลลัพธ์ และผลกระทบงานวิจัย สำหรับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผลการศึกษาจะส่งเสริมและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานบริหารงานวิจัยให้สอดคล้องกับยุทธศาตร์ของวิทยาลัยฯ มหาวิทยาลัยมหิดล และระดับชาติ ในด้านการให้ความสำคัญของผลกระทบงานวิจัย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อคัดเลือกข้อมูลลักษณะของผลลัพธ์และผลกระทบ และเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่เหมาะสมสำหรับองค์กรได้ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของวิทยาลัยฯ ไม่เหมาะกับแนวทางการประเมินหรือวิธีการอย่างเต็มกระบวนการ แต่ควรจะเน้นในการประเมินช่วงปลายที่เป็นผลตั้งแต่เสร็จสิ้นงานวิจัยจนถึงการนำไปใช้ประโยชน์ที่ไม่อิงวัตถุประสงค์/เป้าหมายของงานวิจัย (Goal-free Evaluation) การตัดสินคุณค่าของงานควรเน้นที่การตีค่าของผลทั้งหมดที่เกิดขึ้น (Actual Outcomes) ซึ่งเป็นการประเมินผลที่คาดหวัง และไม่ได้คาดหวังตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ โดยผลการศึกษาทำให้ได้ตารางการประเมินแบบ Matrix สำหรับเป็นแนวทางในการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบงานวิจัยของวิทยาลัยฯ

References

ทองจุล ขันขาว. (2559). ความแตกต่าง ระหว่าง ผลผลิต (output) ผลกระทบ (impact) ผลลัพธ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2561 จาก http://share.psu.ac.th/blog/sodafai/36091
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ คู่มือการประเมินผลสำเร็จในระดับผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2555). ภาพรวมของระบบการวิจัยและพัฒนา. เอกสารประกอบการอบรมเรื่องระบบการประเมินผลการวิจัย และพัฒนาของประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2558). คิดยกกำลังสอง: จะวิจัย “ขึ้นหิ้ง” หรือ “ขึ้นห้าง” [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2561 จาก https://tdri.or.th/2015/11/thinkx2-118/
สุวิมล ว่องวาณิช. (2552). การออกแบบและประเมินโครงการโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยทางสังคมศาสตร์, 16, 7-25.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). (2561). คู่มือการใช้งานระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System: NRMS) ทุนวิจัยมุ่งเป้า และทุน วช. สำหรับนักวิจัย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2561 จาก https://www.nrms.go.th/Manual.aspx.
AACSB International. (2012). Impact of Research: A Guide for Business Schools. Florida: AACSB International.
Jim Parsons, Caitlin Gokey, and Monica Thornton. (2013). Indicators of Inputs, Activities, Outputs, Outcomes and Impacts in Security and Justice Programming. New York: Vera Institute of Justice.
Joanne Fritz. (2018). How to Talk About Nonprofit Impact from Inputs to Outcomes: Inputs, Outputs, Outcomes, Impact – What’s the Difference?. [Online]. Retrieved from https://www.thebalancesmb.com/inputs-outputs-outcomes-impact-what-s-the-difference-2502227.
My Environmental Education Resource Assistant (MEERA). (2018). Outcomes and Impacts. [Online]. Retrieved from http://meera.snre.umich.edu/outcomes-and-impacts.
Nigel Simister and INTRAC Associate. (2015). Outputs, Outcomes and Impact. [Online]. Retrieved from https://www.intrac.org/resources/monitoring-and-evaluation-planning-series-7/.
The Research Excellence Framework (REF). (2014). Assessment criteria and level definitions, Research Excellence Framwork (REF). [Online]. Retrieved from https://www.ref.ac.uk/2014/panels/assessmentcriteriaandleveldefinitions/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01